Page 17 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5

                          เมื่อไรจึงควรท าการให้น้ าและต้องให้เป็นปริมาณเท่าใด ถือว่าเป็นหัวใจส าคัญของการก าหนดการให้

                   น้ าแก่พืชหรือการชลประทานในระดับไร่นา การให้น้ าแก่พืชคือการให้น้ าเพื่อควบคุมความชื้นในดินในเขตราก
                   พืชให้อยู่ในช่วงระหว่างจุดเหี่ยวเฉาถาวร (Permanent wilting point: PWP) กับความชื้นชลประทาน (Field
                   capacity: Fc) หรือพูดง่ายๆ ว่าอยู่ในช่วงความชื้นที่พืชดูดเอาไปใช้ได้ การให้น้ าแก่พืชจะเริ่มท าเมื่อความชื้น
                   ในดินลดลงใกล้จุดเหี่ยวเฉาถาวร ส่วนจะให้ลดลงใกล้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสามารถในการอุ้มน้ าของ

                   ดิน ความสามารถในการทนแล้งของพืช และสภาพภูมิอากาศ เช่น ความแห้งแล้ง หรือความชุ่มชื้น ซึ่งเป็น
                   องค์ประกอบส าคัญที่อิทธิพลต่อการใช้น้ าของพืช โดยทั่วๆ ไปจะยอมให้ความชื้นในดินลดลง 50–75
                   เปอร์เซ็นต์ของความชื้นที่พืชดูดเอาไปใช้ได้ ซึ่งความชื้นในดินที่ยอมให้ลดลงก่อนท าการให้น้ าครั้งต่อไป
                   เรียกว่า ความชื้นที่ยอมให้พืชดูดไปใช้ได้ (Allowable soil moisture deficiency) หรือเรียกสั้นๆ ว่า

                   Allowable depletion ส่วนความชื้นที่เหลือในดินหลังจากที่พืชดูดเอาความชื้นที่ยอมให้พืชดูดไปใช้ได้ไป
                   หมดแล้วคือ ความชื้นที่จุดวิกฤต (Critical moisture level หรือ Critical point)


























                   ภาพที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นในดินกับการก าหนดการให้น้ าแก่พืช
                   ที่มา: (ส านักพิมพ์วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ, 2562)

                          จากภาพที่ 2 สามารถสรุปได้ว่า การให้น้ าแก่พืชจะต้องเริ่มท าเมื่อความชื้นในดินลดลงถึงจุดวิกฤต
                   และปริมาณน้ าที่ให้จะต้องมากพอที่จะเพิ่มความชื้นในดินให้ถึงความชื้นชลประทาน ซึ่งถ้าหากท าการให้น้ าไม่
                   ทันจนท าให้ความชื้นในดินลดต่ าลงกว่าความชื้นที่จุดวิกฤต จะมีผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตของพืชท าให้

                   เกิดการเหี่ยวเฉา ผลผลิตและคุณภาพลดลง

                          แต่การที่จะรู้ว่าความชื้นในดินลดลงถึงจุดวิกฤตหรือยัง จะต้องมีการตรวจวัดความชื้นในดินในเขต
                   รากพืช ซึ่งมีทางท าได้ 3 วิธีคือ การวัดความชื้นของดินโดยการชั่งน้ าหนัก การวัดความชื้นโดยดูลักษณะและ
                   ความรู้สึกสัมผัส และวิธีสุดท้ายคือ การวัดความชื้นในดินโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 3 วิธีดังกล่าว

                   จะช่วยท าให้ทราบว่าควรจะให้น้ าแก่พืชได้หรือยัง และถ้าต้องให้จะต้องให้ด้วยปริมาณเท่าใด ความชื้นที่พืช
                   ดูดเอาไปใช้ได้มีค่าอยู่ระหว่างความชื้นชลประทานถึงความชื้นที่จุดวิกฤต จะแปรเปลี่ยนไปตามชนิดดินและ
                   ลักษณะของดิน

                          ความชื้นดิน (Soil moisture) คือ น้ าซึ่งถูกดูดซับบนผิวอนุภาคดินหรือขังอยู่ชั่วคราวหรืออยู่ใน
                   สภาวะไอน้ าในช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน น้ าเหล่านี้สามารถท าให้หมดได้ เมื่ออบที่อุณหภูมิ 105–110 องศา

                   เซลเซียส ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541)ปริมาณความชื้นในดิน มี
                   ผลมาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากองค์ประกอบทางลักษณะโครงสร้าง (structure)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22