Page 22 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           10

                   และเป็น 144,880.25 ไร่ในปี 2556 โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในปีเดียวกันมากถึง 8,332 ราย ให้ผลผลิต

                   100,547 ตันต่อปี พอปี 2557 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ า เกษตรกรบางส่วนหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
                   (เช่น ยางพารา ฟักทอง หอมแดง และกะหล่ าปลี) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูฝนจึงลดลงไปอยู่ที่
                   118,719 ไร่ ให้ผลผลิต 83,103 ตันต่อปี มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงมาอยู่ที่ 7,427 ราย คิดเป็น
                   ร้อยละ 43.35 ของครัวเรือนทั้งหมด (17,131 ครัวเรือน) ซึ่งนั้นก็หมายความว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                   ผกผันกับราคาในแต่ละปี หากปีไหนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ า ปีถัดมาพื้นที่ปลูกข้าวโพดฯก็จะลดลงตามไป
                   ด้วย แต่ถ้าปีไหนราคาดี ปีถัดมาพื้นที่ปลูกข้าวโพดฯก็จะเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน (สมเกียรติ ,2558)

                          การผลิตพืชไร่ในระบบเกษตรที่ดอน เช่น ข้าวโพดมันส าปะหลัง และอ้อย การไถพรวนเพื่อเตรียม

                   พื้นที่ปลูกและก าจัดวัชพืชเป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง (เสมอขวัญ, 2550; Bradford and
                   Peterson, 2000; Brady and Weil, 2008) อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่สูงส่วนใหญ่นิยมการเผาเศษวัสดุ
                   หรือตอซังเพื่อเตรียมดิน เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ไม่สิ้นเปลืองแรงงานและค่าใช้จ่าย แต่ส่งกระทบต่อทรัพยากรดิน
                   อาทิ ความแน่นทับของดินอัตราการซึมของน้ าลดลง การไหลทางแนวราบสูงขึ้น เกิดการสูญเสียดินสูงขึ้น

                   ความชื้นในดิน และการสูญเสียธาตุอาหารพืช ตลอดจนปริมาณหมอกควันและฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
                   กระทบสุขภาพของเกษตรกรและชุมชน

                   5. ข้าวโพดเลี ยงสัตว์

                          ข้าวโพด (Maize หรือ Corn, Zea mays L.) เป็นธัญพืช (cereal crops) ที่ใช้ประโยชน์เป็นอาหาร
                   ของมนุษย์และสัตว์ (วีรชัย และคณะ, 2552) ซึ่งในโลกปลูกมากเป็นล าดับสาม รองจากข้าวสาลีและข้าว พืชนี้
                   ปลูกได้ในดินหลายชนิดแต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ร่วนปนทรายแป้งและร่วนเหนียว ซึ่งมีชันดินลึกและการ

                   ระบายน้ าดี pH อยู่ระหว่าง 5.0–8.0ข้าวโพดเป็นพืชแรกที่ถูกจ าแนกว่ามีกระบวนการสังเคราะห์แสงแบบ C4
                   อันแตกต่างจากข้าวและข้าวสาลีซึ่งเป็นพืช C3 การที่ข้าวโพดมีกระบวนการสังเคราะห์แสงแบบ C4 นี้เอง อัตรา
                   การสังเคราะห์แสงของใบจึงสูงสุด จุดคอมเพ็นเซชัน (compensation point) ของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ า และ

                   อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสง จนถึงสภาพที่มีแสงแดดเต็มที่ อัตราการสังเคราะห์แสง
                                                 2
                   ของข้าวโพดสูงถึง 60 มก.CO2 /ดม /ซม. ซึ่งสูงกว่าของพืชที่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงแบบ C3 เช่น ถั่ว
                   เหลืองและฝ้ายเกือบสองเท่า (ยงยุทธ และคณะ, 2554)


                          ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมายถึง ข้าวโพดที่เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อน าเมล็ดมาใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ หรือ
                   ท าพันธุ์และอื่น ๆ (สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร, 2557)
                          1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ฤดูฝน) แบ่งออกเป็น

                          - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นต้นฤดูฝน หมายถึง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรท าการเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1
                   มีนาคม ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ของปีเดียวกัน

                          - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นปลายฤดูฝน หมายถึง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรท าการเพาะปลูกตั้งแต่วันที่
                   1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ของปีเดียวกัน
                          2) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 (ฤดูแล้ง) หมายถึง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรท าการเพาะปลูกตั้งแต่วันที่

                   1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป

                          เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53–2556/57 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7.10 ล้านไร่ ในปี
                   2552/53 เป็น 7.54 ล้านไร่ ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28 ต่อปี เนื่องจากปี 2552/53–2553/54

                   ภาครัฐมีการประกันรายได้เกษตรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และในปี 2555/56 เกิดภาวะภัยแล้ง ราคาข้าวโพด
                   เลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นมาก จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ส าหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27