Page 15 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            3

                                                          ตรวจเอกสาร


                   1. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการเกษตรกรรม
                          ภูมิอากาศเป็นปัจจัยส าคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเกษตร โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งพื้นที่
                   การเกษตรส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรที่อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในลักษณะต่างๆ
                   ไดแก การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หรือรูปแบบการกระจายตัวของฝนในช่วงฤดูฝนเปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบ

                   โดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต การศึกษาที่ผ่านมามีการใช้เทคนิคต่างๆ และใช้ข้อมูลภูมิอากาศ
                   ส าหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะคุณสมบัติของ
                   ดิน ข้อมูลสภาพอากาศ ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการการเพาะปลูกพืช (ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์
                   มหาวิทยาลัย,2554)


                          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โดยมี
                   พื้นที่เกษตรคิดเป็นประมาณร้อยละ 47 ของประเทศ พื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 33 และพื้นที่ใช้ประโยชน์
                   นอกการเกษตรประมาณร้อยละ 20 พืชเศรษฐกิจหลักที่ส่งออกของไทยได้แก่ ข้าว ยางพารา มันส าปะหลัง
                   ข้าวโพด และปาล์มน้ ามัน ซึ่งรายได้หลักส่วนหนึ่งมาจากภาคการเกษตร จึงถือได้ว่าการเกษตรเป็นภาคส่วนที่
                   มีบทบาทส าคัญและสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศอย่างมาก โดยเป็นแหล่งผลิตอาหารและพืชที่เป็นแหล่ง

                   พลังงานทดแทน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและภูมิคุ้มกันให้กับประเทศ โดยปัจจัยหลักใน
                   การผลิตทางการเกษตรที่ส าคัญ คือ ทรัพยากรดินและน้ า โดยการเกษตรที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อทรัพยากร
                   ดินให้เสื่อมโทรม การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดดนั้น ก่อให้เกิดการ

                   ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
                   สภาพภูมิอากาศ ท าให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดภาวะฝนแล้ง น้ าท่วม และเกิดภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ซึ่ง
                   มีผลกระทบต่อระบบการเกษตรตามมา การเพาะปลูกพืชทางการเกษตรจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
                   กับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม

                   การเมืองและเทคโนโลยี ตลอดจนการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็อาจส่งผลกระทบ
                   ต่อการเกษตรของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                          ส าหรับการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต
                   นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ใช้การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีต ได้แก่ อุณหภูมิ ฝน พายุ หรือ
                   ระดับน้ าทะเล เพื่อน ามาค านวณและพนาการณ์สถานการณ์ในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้ส าหรับประเทศไทย มีดังนี้

                   1) อุณหภูมิร้อนขึ้นและร้อนยาวนานขึ้นแทบทุกภาคของประเทศ บริเวณที่คาดว่าจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1–2
                   องศา อยู่ในเขตลุ่มน้ าเจ้าพระยาและภาคอีสานตอนล่าง 2) สภาพอากาศหนาวสั้นลงหรือหายไปเลย เหลือ
                   เพียงแค่ทางตอนเหนือของประเทศที่ยังมีอากาศหนาวเท่านั้น 3) การเปลี่ยนแปลงของฝนมีกระบวนการ
                   ระเหยและการกลั่นตัวเร็วขึ้น ความถี่ของฝนเพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ าก็จะมีอัตราการระเหยเร็วขึ้น ท าให้ดินแห้ง

                   เร็วกว่าปกติ ส่งผลให้พืชขาดน้ าในฤดูกาลเพาะปลูก และ 4) เมื่อมีความร้อนสะสมมากขึ้นแนวโน้มการมีพายุ
                   เพิ่มขึ้น ความรุนแรงของพายุเพิ่มขึ้น โดยสถิติเดิมประมาณ 8 ปี จะเกิดพายุ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันมีพายุเกิดขึ้น 3
                   ปีต่อครั้ง และเป็นพายุขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่พายุขนาดเล็กระดับดีเปรสชั่นมีจ านวนเกิดขึ้น
                   ลดลงมาก (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20