Page 13 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            1



                                                       หลักการและเหตุผล


                                 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรในด้านของฤดูกาลที่มีความ
                   แปรปรวนซึ่งกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรง ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 180 ล้าน

                   ไร่ หรือประมาณ 56.24 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งประเทศ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ส าหรับการคาดการณ์
                   แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ใช้การ
                   เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีต ได้แก่ อุณหภูมิ ฝน พายุ หรือระดับน้ าทะเล เพื่อน ามาค านวณและ
                   พยากรณ์สถานการณ์ในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้ส าหรับประเทศไทย มีดังนี้ 1) อุณหภูมิร้อนขึ้นและร้อนยาวนาน

                   ขึ้นแทบทุกภาคของประเทศ บริเวณที่คาดว่าจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 – 2 องศา อยู่ในเขตลุ่มน้ าเจ้าพระยาและ
                   ภาคอีสานตอนล่าง 2) สภาพอากาศหนาวสั้นลงหรือหายไปเลย เหลือเพียงแค่ทางตอนเหนือของประเทศที่ยัง
                   มีอากาศหนาวเท่านั้น 3) การเปลี่ยนแปลงของฝนมีกระบวนการระเหยและการกลั่นตัวเร็วขึ้น ความถี่ของฝน

                   เพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ าก็จะมีอัตราการระเหยเร็วขึ้น ท าให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้พืชขาดน้ าในฤดูกาล
                   เพาะปลูก และ 4) เมื่อมีความร้อนสะสมมากขึ้นแนวโน้มการมีพายุเพิ่มขึ้น ความรุนแรงของพายุเพิ่มขึ้น โดย
                   สถิติเดิมประมาณ 8 ปี จะเกิดพายุ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันมีพายุเกิดขึ้น 3 ปีต่อครั้ง และเป็นพายุขนาดใหญ่ที่มี
                   สัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่พายุขนาดเล็กระดับดีเปรสชั่นมีจ านวนเกิดขึ้นลดลงมาก (ส านักงานเศรษฐกิจ
                   การเกษตร, 2558)

                                ภูมิอากาศเปนปจจัยส าคัญซึ่งอาจสงผลกระทบตอการเกษตร โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่ง
                   พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรที่อาศัยน้ าฝนเปนหลัก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภูมิอากาศใน
                   ลักษณะตางๆ ไดแก การที่อุณหภูมิ เพิ่มสูงขึ้น หรือ รูปแบบการกระจายตัวของฝนในชวงฤดูฝนเปลี่ยนแปลง

                   ในอนาคตจะสงผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร ผลการศึกษาการประเมินการเปลี่ยนแปลง
                   ภูมิอากาศในบริเวณลุมแมน้ าโขงในชวงทศวรรษ ค.ศ. 2030 ชี้ใหเห็นถึงแนวโนมปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณ
                   ภาคเหนือของประเทศไทย ในชวงฤดูแลง สวนทาง ภาคตะวันออกจะมีปริมาณฝนลดลง ทั้งนี้คาดวาปริมาณ
                   ฝนรายปโดยรวมทั้งประเทศ จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากจะมีปริมาณฝน เพิ่มขึ้นใน ชวงฤดูฝน นอกจากนั้นยังมีการ

                   คาดการณวาการไหลของน้ าบนผิวดินและการเกิดน้ าทวม จะเพิ่มขึ้น (ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์
                   มหาวิทยาลัย,2554) การศึกษาในระยะที่ผานมามีการใชเทคนิคตางๆ และใชขอมูลภูมิอากาศส าหรับการวิ
                   เคราะหผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตอ ผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะอยางยิ่ง คุณสมบัติของ
                   ดิน ขอมูลสภาพอากาศ ตลอดจนวิธีการบริหาร จัดการการเพาะปลูกพืช (ศูนย์บริการวิชาการแห่ง

                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)
                                 แม้ว่าประเทศไทยจะมีปริมาณน้ าที่เกิดจากฝนเพียงพอต่อความต้องการ แต่มักจะประสบ
                   ปัญหาขาดแคลนน้ าในฤดูแล้งและประสบอุทกภัยในฤดูฝน และมีโอกาสยิ่งมากขึ้นที่จะประสบปัญหาดังกล่าว
                   อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ าเพื่อใช้เก็บกักน้ าในช่วงฤดูฝน เพื่อ

                   ลดปัญหาอุทกภัย และใช้ส่งน้ าในฤดูแล้งเพื่อสนับสนุนการใช้น้ าภาคส่วนต่าง ๆ มีไม่เพียงพอ พื้นที่ชลประทาน
                   ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จมีเพียง 22.5 เปอร์เซ็นต์ และบางพื้นที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น การสร้าง
                   ทางคมนาคม อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม กีดขวางทางน้ า ท าให้การบริหารจัดการน้ าไม่สามารถ

                   กระจายได้อย่างทั่วถึง จึงท าให้เกิดปัญหาอุทกภัย และปัญหาขาดแคลนน้ าในพื้นที่นอกเขตชลประทานทุกปี
                   (คณะอนุกรรมการจัดท าแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร, 2555) ผลกระทบที่เกิดจากการ
                   เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะท าให้ภูมิภาคในเขตร้อนมีฤดูแล้งยาวนาน การระเหยของน้ าเพิ่มขึ้น ปริมาณ
                   น้ าที่เก็บกักลดลงและส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ าส าหรับประเทศไทย จากผลการศึกษาการ
                   เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายฉบับได้ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิของประเทศไทยจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18