Page 11 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           1

                                                       หลักการและเหตุผล



                          ขมิ้นชัน (Turmeric : Curcuma longa L.) จัดเป็นพืชสมุนไพร 1 ใน 6 ชนิดของยาบัญชีหลัก
                   เนื่องจากในเหง้าขมิ้นชันพบสารเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoid) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีการ

                   น ามาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งทางด้านยา อาหาร และเครื่องส าอาง ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลมี
                   นโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์จึงมีนโยบายเร่งด่วน สนับสนุนให้มีการพัฒนา

                   งานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของไทยทั้งในด้านการผลิตเป็นยารักษาโรคเพื่อทดแทนการน าเข้า
                   ยาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลักดันให้เป็นสินค้า

                   ส่งออกส าหรับพื้นที่ปลูกขมิ้นชัน ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 5,000 ไร่ 90 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในภาคใต้

                   ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชรอง หรือพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ า อย่างไรก็ตาม การปลูกเป็นพืช
                   เชิงเดี่ยวมีน้อยท าให้ไม่มีการเก็บสถิติเนื้อที่ปลูกและผลผลิต แต่มีรายงานแหล่งปลูกที่ส าคัญ ได้แก่

                   สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชพังงา ชุมพร พัทลุง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี กาญจนบุรี และ

                   นครราชสีมา ผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประมาณ 10,000 ตัน (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548)
                          การปลูกขมิ้นชันให้ได้ทั้งปริมาณผลผลิต และมีคุณภาพแต่ยังคงความความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ ใน

                   กระบวนการปลูกจ าเป็นต้องมีการจัดการดูแลตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะการจัดการธาตุอาหาร มหธาตุ

                   (macronutrient elements) ซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก ปริมาณความเข้มข้นของธาตุโดย
                   น้ าหนักแห้งเมื่อพืชเจริญเต็มวัยสูงกว่า 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

                   แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถันจึงถือเป็นปัจจัยหลักที่ควบคุมปริมาณ และคุณภาพผลผลิต
                   (ยงยุทธ, 2552) แต่ในปัจจุบันค่ามาตรฐานของธาตุอาหารดังกล่าวส าหรับใช้แปลผลการวิเคราะห์ดินและพืช

                   ในขมิ้นชันยังไม่มีการศึกษาแน่ชัด ถึงระดับธาตุอาหารในช่วงขาดแคลน (deficient) ต่ า (low) เพียงพอ

                   (sufficient) หรือสูงเกินไป (excessive) โดยทั่วไปแนะน าใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
                   หรือใส่ประมาณ 15 กรัมต่อต้น โดยใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน ส่วนครั้งที่สอง หลังปลูก 3 เดือน

                   (สุภาภรณ์, 2558) ค าแนะน าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจึงอาจไม่มีความเหมาะสม อาจส่งผลให้ขมิ้นชันได้รับธาตุ
                   อาหารไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป ท าให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน เช่น ในกรณีของลองกองที่

                   ขาดแคลเซียม และแมกนีเซียม พบว่ามีโพแทสเซียมในใบเกินความต้องการ หรือในกรณีของฟอสฟอรัสหากมี

                   การใส่ฟอสเฟตมากเกินไป ฟอสฟอรัสอาจไปลดความเป็นประโยชน์ของสังกะสี (จ าเป็น และคณะ, 2549)
                          ดังนั้น จ าเป็นต้องจัดท าค่ามาตรฐานของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม

                   และก ามะถัน ส าหรับแปลผลการวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน เพื่อใช้ให้ค าแนะน าปุ๋ยแก่เกษตรกร ซึ่ง

                   สามารถท าได้โดยการส ารวจเก็บตัวอย่างดิน และพืชจากแปลงเกษตรกร จากนั้นใช้วิธีเส้นขอบเขตหา
                   ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของธาตุอาหารในดิน หรือพืชกับปริมาณผลผลิต ส าหรับจัดท าค่ามาตรฐาน

                   ธาตุอาหาร ในช่วงขาดแคลน ต่ า เพียงพอ และสูงเกินไป โดยอาศัยข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น

                   ของธาตุอาหาร กับปริมาณผลผลิตในช่วง <60, 60-80, 80-100 เปอร์เซ็นต์ และค่าความเข้มข้นของธาตุ
                   อาหารที่เริ่มท าให้ผลผลิตลดลง ตามล าดับ (จ าเป็น และคณะ, 2549)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16