Page 13 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           3

                                                        การตรวจเอกสาร


                   1. ขมิ้นชัน (Turmeric :Curcuma longa L.)

                          ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพร จัดเป็นพืชพืชล้มลุกในตระกูลซิงจิเบอราซีอี (Zingiberaceae) มีถิ่นก าเนิด
                   ในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติใน

                   สภาพพืชป่า มีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพืชปลูกที่เกิดจากกระบวนการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ และมีโครโมโซม

                   3 ชุด ซึ่งเป็นหมันและมีการสืบทอดพันธุ์กันต่อมาโดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ และขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
                   ระหว่างขมิ้นชันสายพันธุ์ที่มีโครโมโซม 2 คู่ และ 4 คู่ การปลูกขมิ้นชันสันนิษฐานว่าเริ่มขึ้นในประเทศอินเดีย

                   และแพร่กระจายไปสู่ประเทศจีน แอฟริกาตะวันออก และแอฟริกาตะวันตก ในศตวรรษที่ 7, 8 และ 13
                   ตามล าดับ ปัจจุบันมีเขตการกระจายพันธุ์ปลูกทั่วไปในภูมิภาคที่มีอากาศร้อน หรือร้อนชื้นทั่วโลก

                   (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) แหล่งปลูกขมิ้นชันเป็นการค้า ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ จีน ไต้หวัน เปรู และ

                   อินโดนีเซีย ในแต่ละปีมีผลผลิตประมาณ 200,000-300,000 ตัน โดยมีอินเดียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ซึ่ง
                   ผลผลิตจากอินเดีย และบังคลาเทศรวมกันประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตโลก อย่างไรก็ตาม ความ

                   ต้องการใช้ภายในประเทศของอินเดียค่อนข้างสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตในประเทศส่วนที่เหลือส่งออก
                   ไปยังสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส าหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 5,000 ไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจ

                   การเกษตร, 2548) ในแต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกขมิ้นชันแตกต่างกันไป ได้แก่ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน

                   (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น, หมิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง ก าแพงเพชร)
                   และ สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) (วิกิพีเดีย, 2562) 90 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ปลูกอยู่ในภาคใต้ ส่วนใหญ่

                   ปลูกเป็นพืชรองหรือพืชเสริมรายได้ นิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด เช่น แกงเหลือง แกงไต

                   ปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548)
                          ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปีมีล าต้นจริงอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า (rhizome) ซึ่งประกอบด้วยเหง้า

                   หลักใต้ดินเรียกว่า “หัวแม่” มีลักษณะรูปไข่ และแตกแขนงทรงกระบอกออกด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า

                   “แง่ง” (finger) ส่วนล าต้นเหนือดินเป็นล าต้นที่เกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบมีความสูงประมาณ 30-90
                   เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มีลักษณะยาวรี โคนใบสอบหรือมน ปลายใบแหลม กว้างประมาณ

                   10-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจนทางด้านล่างของใบ ใบ
                   เรียงแบบสลับและอยู่กันเป็นกลุ่ม เมื่อโตเต็มที่จะมีใบประมาณ 6-10 ใบต่อต้น ก้านใบยาวประมาณ 8-15

                   เซนติเมตร เป็นก้านใบแคบ ๆ มีร่องแผ่ครี่ออกเล็กน้อย ในหน้าแล้งใบจะแห้ง เหลือเฉพาะเหง้าอยู่ใต้ดิน แต่ใน

                   ฤดูฝนหากไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตเหง้าในดินสามารถแตกต้นใหม่ออกมาอีกครั้ง ส่วนลักษณะดอกจะออกเป็นช่อ
                   ใหญ่ แทงออกจากเหง้า ก้านช่อดอกมียาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียง

                   ซ้อนกันอย่างมีระเบียบ ใบประดับ 1 ใบ จะมีดอกอยู่ 2 ดอก ใบประดับย่อยนั้นรูปขอบจะขนานยาว 3-3.5
                   เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกจะมีสีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ

                   ยาว ส่วนปลายแยกเป็น 3 ส่วน ปกติดอกจะบานครั้งละ 3-4 ดอก อย่างไรก็ตาม ปกติดอกขมิ้นชันจะเป็น

                   หมัน จึงมักไม่ติดผลและเมล็ด (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีใน
                   ดินร่วนปนทราย การระบายน้ าดี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์

                   81 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ าฝน 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี วิธีปลูกหากใช้ส่วนของแง่ง ต้องเลือกแง่งที่
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18