Page 19 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       17


                                                     ผลการทดลองและวิจารณ์


                       1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน

                              ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบตัวอย่างรวม (Composite Sample) ที่ระดับ
                       ความลึก 0-15 เซนติเมตร แล้วนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี พบว่า ดินก่อนการทดลองค่าความ

                       เป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ 8.1 จัดเป็นด่างปานกลาง อินทรียวัตถุ เท่ากับ 2.06 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่

                       ในระดับปานกลาง ฟอสฟอรัส เท่ากับ 14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง โพแทสเซียม
                       เท่ากับ 35 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำ


                              1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                                     หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างทุกตำรับการทดลองเท่ากับ

                       8.1 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในปีที่ 2 ค่าความเป็น
                       กรดเป็นด่างในแต่ละตำรับการทดลองเริ่มมีแนวโน้มลงลดเหลือ 8.0 ยกเว้นตำรับการทดลองที่ 2 ที่มี

                       ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่าเดิม ส่วนในปีที่ 3 ทุกตำรับการทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลงอยู่
                       ในพิสัย 7.7-7.8 ซึ่งมีระดับของปฏิกิริยาดินเป็นด่างเล็กน้อย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง

                       สถิติโดยตำรับการทดลองที่ 3 มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำสุด เท่ากับ 7.7 (ตารางที่ 1)


                              1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ

                                     หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มลดลงทุกตำรับการ
                       ทดลองอยู่ในพิสัยร้อยละ 1.5- 2.0 ในระดับค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ไม่มีความแตกต่างอย่างมี

                       นัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับปีที่ 2 ที่ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มลดลงทุกตำรับการทดลองอยู่ใน
                       พิสัยร้อยละ 1.5- 2.0 ในระดับค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ส่วนในปีที่ 3 ปริมาณอินทรียวัตถุลดลงทุก

                       ตำรับการทดลองอยู่ในพิสัยร้อยละ 1.0- 1.5 ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ โดยวิธีการที่ 3 มีปริมาณ

                       อินทรียวัตถุลดลงมากเหลือร้อยละ 1.0 ในระดับต่ำ (ตารางที่ 1)

                               1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                                     หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นทุกตำรับ

                       การทดลอง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 16.0–34.0

                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับที่สูง โดยวิธีการที่ 3 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากสุด
                       เท่ากับ 34  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือ ตำรับที่ 4 2 5 และ1 โดยมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                       ประโยชน์เท่ากับ 26 24 19 และ 16 ตามลำดับ หลังการทดลองปีที่ 2 พบว่า ไม่มีความแตกต่าง

                       อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 11.0–34.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปาน
                       กลางถึงสูง เช่นเดียวกับปีที่ 3 ที่ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในพิสัย 13-24 มิลลิกรัม
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24