Page 18 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       16


                       6.81-6-12 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 18-46-0 ปริมาณ 13 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ สูตร

                       46-0-0 ปริมาณ 9.7 กิโลกรัมต่อไร่ และ สูตร 0-0-60 ปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ (ปีที่ 2 และปีที่ 3)
                       ปริมาณธาตุอาหารที่แนะนำ N-P2O5-K2O เท่ากับ 17.82-5.6-11.6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น ใส่ปุ๋ยสูตร

                       18-46-0 ปริมาณ 12 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ สูตร 46-0-0 ปริมาณ 34 กิโลกรัมต่อไร่ และ สูตร 0-0-
                       60 ปริมาณ 19 กิโลกรัมต่อไร่

                                     3.2.6 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบดิน ldd test kit ใน

                       วิธีการที่ 4 ปริมาณธาตุอาหารที่แนะนำ N-P 2O 5 -K 2O เท่ากับ 12-6-6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นใส่ปุ๋ยเคมีสูตร
                       18-46-0 ปริมาณ 13 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ สูตร 46-0-0 ปริมาณ 21 กิโลกรัมต่อไร่ และ สูตร 0-0-60

                       ปริมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ (ปีที่ 2 และปีที่ 3) ปริมาณธาตุอาหารที่แนะนำ N-P 2O 5-K 2O เท่ากับ 18-9-12
                       กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น ใส่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 ปริมาณ 19.6 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ สูตร 46-0-0 ปริมาณ 18.4

                       กิโลกรัมต่อไร่ และ สูตร 0-0-60 ปริมาณ 19 กิโลกรัมต่อไร่

                                     3.2.7 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในวิธีการที่ 5 โดยตามลักษณะเนื้อ
                       ดิน ซึ่งดินในแปลงทดลองเป็นดินเหนียว ปริมาณธาตุอาหารที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใส่ คือ ปริมาณ

                       ธาตุอาหารที่แนะนำ N-P 2O 5 -K 2O เท่ากับ 12-6-6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ
                       40 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหรือหลังแต่งตอทันที ครั้งที่ 2 เมื่ออ้อยอายุ

                       3-4 เดือน

                                     3.2.8 ดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และฉีดยากำจัดวัชพืช ตามความจำเป็น
                              3.3 การเก็บข้อมูล

                                     3.3.1 ข้อมูลดิน
                                            เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ที่ระดับความลึก 0-15

                       เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีดิน (หาค่า pH %OM  Available P และ  Exchangeable K)

                                     3.3.2 ข้อมูลพืช
                                            1) ทำการเก็บข้อมูลคุณภาพองค์ประกอบผลผลิต ความยาวลำ ความ

                       หวาน (ซีซีเอส) โดยทำการวัดความหวานที่ โคน กลาง และปลายลำ นำมาหาค่าเฉลี่ย
                                            2)  เก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย ขนาดพื้นที่เก็บเกี่ยว 3 x 5 ตารางเมตร

                                     3.3.3 เก็บข้อมูลมวลชีวภาพของต้อนอ้อย โดยตัดส่วนเหนือดินทั้งหมดและนำมาชั่ง

                       หาน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นอ้อย
                              3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

                             วิเคราะห์ข้อมูลอ้อยโดยใช้วิธีทางสถิติ (ANOVA: Analysis of Variance) และหาค่าความ
                       แตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี Ducan's Multiple Range Test (DMRT) เปรียบเทียบผลผลิตในแต่ละ

                       วิธีการทดลอง วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และเขียนรายงาน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23