Page 3 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       ทะเบียนวิจัยเลขที่   61 63 04 12 030000 021 102 03 11
                       ชื่อโครงการ          ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์
                                            Effects of drip irrigation on sugarcane yield and quality on calcareous soil in

                                            Nakhonsawan province..
                       กลุ่มชุดดินที่       28    ชุดดินชัยบาดาล
                       ผู้ดำเนินการ         นายดานิเอล  มูลอย            Mr. Daniel  Muloi

                                            นายสุทธิพงศ์  วทานียเวช       Mr.  Sutthipong  Wathaneeyawech
                                            นางพัชรีภรณ์  ดีมุกข์ดา      Mrs.Patchareeporn  Deemukda
                                            นางสาวกมลวรรณ ทองอ่อน      MS.Kamonwan  Tongon


                                                            บทคัดย่อ


                              การศึกษาผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัด

                       นครสวรรค์ ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน เมษายน  2564 ณ บ้านเขาดิน
                       หมู่ 4  ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบน้ำหยดเพื่อ
                       เพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยที่ปลูกในดินด่าง รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ วางแผนการทดลอง
                       แบบ Randomized complete block design (RCBD) 5 วิธีการทดลอง (treatment)   4 ซ้ำ

                       (replication) ได้แก่ วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม ไม่มีระบบน้ำหยด วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกร ไม่มีระบบ
                       น้ำหยด วิธีการที่ 3 ให้น้ำเท่ากับ 50% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด วิธีการที่
                       4 ให้น้ำเท่ากับ 100% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด วิธีการที่ 5 ให้น้ำเท่ากับ
                       150% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ดินหลัง

                       การทดลองทุกตำรับการทดลองมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลงจากด่างปานกลางเป็นด่างเล็กน้อย
                       ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองเช่นเดียวกับปริมาณโพแทสเซียมที่
                       แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง วิธีการที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของ

                       ปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด เป็นวิธีการที่ดีที่สุดให้ผลผลิตอ้อยสูงสุดทั้ง 3 ปี
                       ผลผลิตรวม 3 ปีเท่ากับ 70.83 ตันต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเฉลี่ยปีละ 23.61 ตันต่อไร่ ความหวานอ้อย
                       พบว่า ระบบน้ำหยดไม่มีผลต่อความหวานอ้อย แต่การให้ปุ๋ยเคมีมีผลต่อความหวานของอ้อย  วิธีการ
                       ที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด ให้
                       ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากที่สุดทุกปี รายได้สุทธิของการปลูกอ้อยเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 7,770

                       บาทต่อไร่ต่อปี
   1   2   3   4   5   6   7   8