Page 7 - เทคโนโลยีการจัดการดินเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีปริมาณและคุณภาพที่ดีที่เหมาะสมในดินทราย จังหวัดมหาสารคาม
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                               5



                   หมักชีวภาพ เปนการเพิ่มสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินใหดีขึ้น และสงเสริมการใชธาตุอาหารหลักและธาตุ
                   อาหารรองของพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชและเมล็ดพันธุพืชใหมากขึ้น วิธีการดังกลาวปลอดภัยตอ

                   ผูผลิตและผูบริโภคและการสงเสริมใหเกษตรกรใชสารสกัดสมุนไพรปองกันโรคและแมลงศัตรูพืช เกษตรกร
                   สามารถนําไปปฏิบัติไดโดยงาย

                                                            วัตถุประสงค
                           1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดการดิน ปุย และอินทรียวัตถุที่เหมาะสม เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุมันแกว ที่มี

                   ปริมาณและคุณภาพที่ดี
                          2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน กอนและหลังการจัดการดิน
                          3. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการผลิตเมล็ดพันธุมันแกว


                                                          การตรวจเอกสาร
                          ทรัพยากรดิน
                          ทรัพยากรดินที่มีปญหาตอการใชประโยชนทางดานการเกษตรที่สําคัญในจังหวัดมหาสารคาม คือ ดิน
                   ทราย มีพื้นที่ 2,191,461ไร คิดเปน 66.27 % ของพื้นที่จังหวัด (วนิดา, 2548)

                          ดินทรายเปนดินเนื้อหยาบไมอุมน้ํา มีความอุดมสมบูรณต่ํา ดูดซับปุยต่ํา ความสามารถในการแลกเปลี่ยน
                   ประจุบวกต่ํา โครงสรางดินไมดี มีการระบายน้ําดีถึงคอนขางมาก ขาดแคลนน้ํานาน งายตอการกัดกรอน ในระยะ
                   ที่ฝนตกหนักจะมีน้ําขัง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548 และ วนิดา, 2548) สวนใหญแลวในดินทรายมักมีคาปฏิกิริยาเปน

                   กรด ซึ่งจะเกิดปญหาดินกรดดวย  เนื่องจากดินผานการชะละลายมานาน ควรปรับคาปฏิกิริยาดินใหเปนกลางเพื่อ
                   ความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืชกอนทําการเกษตร โดยใชปูนขาวหรือ โดโลไมท หวานใหทั่วแปลง ซึ่งตอง
                   พิจารณาระดับความตองการ pH ของพืชดวย (วนิดา, 2550)

                          กลุมชุดดินที่ 41 ลักษณะดินเกิดจากการสลายตัวผุพังอยูกับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแลวเคลื่อนยาย
                   มาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ หรือเกิดจากตะกอนลําน้ําหรือวัตถุน้ําพาจากบริเวณที่สูงวางทับอยูบนชั้นดินรวน

                   หยาบ หรือรวนละเอียด พบในบริเวณพื้นที่ดอน ลักษณะดินเปนดินลึก มีการระบายน้ําดี-ดีปานกลาง เนื้อดินชวง
                   50-100 ซม. เปนดินทรายหรือดินทรายปนดินรวน สวนถัดลงไปเปนดินรวนปนทราย และดินรวนเหนียวปนทราย
                   สีดินเปนสีน้ําตาลออน หรือเหลืองปนน้ําตาล อาจพบจุดประสีตางๆ ในชั้นดินลาง ดินมีความอุดมสมบูรณต่ํา ดิน
                   บนมี pH  ประมาณ 5.5-6.5  สวนดินลาง pH  ประมาณ 6.0-7.0 ใชประโยชนในการปลูกมันสําปะหลัง ออย ปอ

                   ขาวโพด ยาสูบ ประสบปญหาดินมีความอุดมสมบูรณต่ํามาก เนื้อดินบนเปนทรายจัด เสี่ยงตอการขาดน้ํางาย ถามี
                   ฝนตกมาก ดินบนแฉะชุดดินในกลุมชุดดินที่ 41 ไดแกชุดดินมหาสารคาม บานไผ คําบง หรือดินคลายอื่นๆ (กรม
                   พัฒนาที่ดิน, ม.ป.ป.)

                          การปรับปรุงบํารุงดิน
                            ดินในจังหวัดมหาสารคามเกิดมาจากหินทราย ซึ่งเมื่อสลายตัวจะใหดินทราย มีลักษณะตามธรรมชาติที่
                   ขาดความอุดมสมบูรณ  ดินมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชต่ํา  โครงสรางดินไมเกาะตัวกัน เนื่องจากขาดสาร

                   เชื่อมเม็ดดิน การอุมน้ําต่ํา ความชื้นที่เปนประโยชนในดินต่ํา การปรับปรุงดินทรายสามารถทําไดหลายวิธี ไดแก
                   การใชปุยหมัก ปุยพืชสด และวัสดุปรับปรุงดิน ฯลฯ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12