Page 10 - เทคโนโลยีการจัดการดินเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีปริมาณและคุณภาพที่ดีที่เหมาะสมในดินทราย จังหวัดมหาสารคาม
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                               8



                   ผิวหนังเพื่อลดอาการระคายเคือง ผื่นคัน รักษาแผล แผลผุพอง เปนหนองบริเวณผิวหนังได การปลูกมันแกวมัก
                   ปลูกเพื่อการเก็บผลผลิตจากสวนหัวเพื่อนํามาใชประโยชนเปนหลัก สวนเมล็ดพบเพียงบางพื้นที่ที่ตองการเก็บ

                   เมล็ดสําหรับเปนเมล็ดพันธุ และการนําเมล็ดไปใชประโยชนในเรื่องยาตางๆ

                         ประโยชนในการปองกันกําจัดศัตรูพืช โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร และเทคโนโลยีแหงประเทศไทย พบ

                   สารสกัดจากเมล็ดมันแกวที่มีสาร rotenone  และ saponins ออกฤทธิ์ฆาแมลงได นอกจากนั้นมีการนําผงเมล็ด
                   มันแกวบดใหละเอียด 0.5-1 กิโลกรัม ละลายน้ํา 20-30 ลิตร และแชทิ้งไว 2 วัน แลวนํามากรองเอาสารละลาย
                   ฉีดพนพืชผัก โดยผสมน้ํา 1:5 พบวา สามารถกําจัดเพลี้ย และหนอนหลายชนิดได สวนของใบมีสารพิษ
                   glycoside  ชื่อ pachyrrhizin  ออกฤทธิ์คลายสาร derris  ในหางไหล ใชเปนยาเบื่อปลา สุนัข และมีพิษตอโค
                   และกระบือ รวมถึงสัตวกินพืชทุกชนิด


                         คุณคาทางอาหารของผลมันแกวนั้นประกอบดวยน้ํา 90.5%  โปรตีน 0.9% คารโบไฮเดรต 7.6% (วิกิพี
                   เดีย, 2549) ไมมีเสนใยอาหารโดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose ซึ่ง inulin ในรางกายของมนุษย ไมสามารถ

                   เผาผลาญได ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสําหรับผูเปนโรคเบาหวาน (สํานักงานขอมูลสมุนไพร, 2536) หรือ ผูควบคุม
                   น้ําหนัก มันแกวควรเก็บในที่แหง อุณหภูมิระหวาง 12-16 องศาเซลเซียสถาอุณหภูมิต่ํากวานี้จะทําใหสวนรากช้ํา
                   ได ถาเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยูไดนานถึง 1-2 เดือน การเก็บรักษามันแกวที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ไมขุดขึ้นจากดิน วิธีนี้

                   จะสามารทิ้งหัวมันแกวไวในดินไดอีกประมาณ 2-3  เดือน โดยไมใหน้ํา หัวจะไมเสีย เพียงแตแหงไปบางและจะมี
                   ระหวานมากขึ้น (วิกิพีเดีย, 2549)


                         ประเทศไทยมีการปลูกมันแกวอยูทั่วทุกภาค ในป 2556  มีพื้นที่ปลูกมันแกวทั้งหมด 8,708  ไร ผลผลิต
                   16,876 ตัน โดยภาคกลางปลูกในพื้นที่ 2,454 ไร จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด เชน สระบุรี ลพบุรี เปนตน ภาคเหนือ
                   ปลูกในพื้นที่ 2,340   ไร จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด เชน พะเยา นาน นครสวรรค เชียงใหม เปนตน ภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือปลูกในพื้นที่ 2,334  ไร จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด เชน มหาสารคาม นครพนม ศรีสะเกษ

                   อุบลราชธานี เปนตน ภาคใตปลูกในพื้นที่ 815 ไร ปลูกมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช (จันทรสุดา และคณะ,
                   ม.ป.ป.) ปจจุบันจังหวัดมหาสารคามใชพันธุเบาหัวเล็ก จากการสํารวจขอมูลการปลูกมันแกวจังหวัดมหาสารคาม
                   ป 2549/2550 ของศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดมหาสารคาม พบวาปจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,100
                   ไร มีผลผลิตอยูที่ 3-5 ตันตอไร (อนุชา และคณะ, 2554)


                         การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสําหรับการรับประทานหัวสดประมาณ 90-120 วัน ดานการผลิตและผลตอบแทน

                   การปลูกมันแกวพบวา เกษตรกรสามารถผลิตมันแกวไดผลผลิตเฉลี่ย 3.6  ตันตอไร โดยมีตนทุนเฉลี่ยประมาณ
                   5,308 บาทตอไร คิดเปนอัตราสวนผลตอบแทนตอการลงทุนรวมตอไร (Benefit Cost Ratio : BCR) เทากับ 2.07
                   ในกรณีที่จําหนายในลักษณะเหมาแปลง และเทากับ 8.13 ในกรณีที่นําผลผลิตไปตั้งนั่งรานจําหนายเอง สวนอายุ
                   การเก็บเกี่ยวที่แตกตางกันของมันแกวไมมีผลตอการเจริญเติบโตทางลําตนมากนัก แตมีผลอยางยิ่งตอขนาด และ
                   ปริมาณของผลผลิต โดยเฉพาะอยางยิ่งในชวงอายุประมาณ 30  วันขึ้นไปหลังปลูก มันแกวจะเริ่มสะสมแปงและ

                   น้ําตาล ในสวนของปริมาณแปง และองคประกอบทางเคมีของมันแกวที่อายุเก็บเกี่ยวตางกัน พบวาอายุเก็บเกี่ยวที่
                   ตางกันไมมีผลตอปริมาณแปงในหัวมันแกว แตมีผลตอองคประกอบทางเคมี เชน ปริมาณน้ําตาล ฟรุกแตน
                   ปริมาณโปรตีน ไขมัน และตอคุณภาพแปง (อนุชา และคณะ, 2554)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15