Page 9 - ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
ภาพที่ 1 ผังการทดลอง
2. วิธีดำเนินการ
2.1 นำเมล็ดพันธุ์ปอเทืองที่เก็บในระยะแก่ทางสรีรวิทยา และระยะแก่เก็บเกี่ยว มาตรวจสอบความชื้นของเมล็ด
โดยอบเมล็ดที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ทำการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวใน
ระยะสุกแก่มาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน นำแต่ละส่วนมาลดความชื้น ดังนี้
2.1.1 ลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ด้วยแสงอาทิตย์ นำเมล็ดพันธุ์ปอเทืองทั้งฝักวางให้แผ่กระจายกัน
เป็นชั้นเดียวทั่วตะกร้าพลาสติก ลดความชื้นด้วยแสงอาทิตย์ประมาณวันละ 8 ชั่งโมง เกลี่ยฝักกลับไปมาวันละ 2 ครั้ง
ตรวจสอบความชื้นเมล็ดทุกวัน เมื่อความชื้นลดลงเหลือประมาณ 15% จึงทำการนวดเมล็ดด้วยมือ แล้วทำการลดความชื้น
ต่อไปจนกระทั่งเมล็ดมีความชื้น 12% จึงนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบความงอก และความแข็งแรง แล้วจึงนำไปเก็บรักษา
2.1.2 การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ด้วยตู้อบลมร้อน นำเมล็ดพันธุ์ปอเทืองทั้งฝักวางให้เป็นชั้นเดียว
บนตะแกรงในตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส สุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่อบไปตรวจสอบความชื้นทุกวัน จนกระทั่ง
ความชื้นเมล็ดลดลงเหลือประมาณ 15% จึงนวดเมล็ดด้วยมือ ลดความชื้นต่อไปจนกระทั่งเมล็ดมีความชื้นลดลงต่ำกว่า
12% จึงนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว และนำไปเก็บรักษา
2.1.3 การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ด้วยลมในที่ร่ม นำเมล็ดพันธุ์ปอเทืองทั้งฝักมาผึ่งบนตะแกรงในที่
ร่มในห้องปฏิบัติการที่มีลมพัดผ่าน โดยใช้พัดลมช่วยเป็นระยะในกรณีที่ลมสงบ สุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ไปตรวจสอบความชื้น
ทุกวัน จนกระทั่งความชื้นเมล็ดมีความชื้น 15% จึงนวดเมล็ดด้วยมือลดความชื้นต่อไปจนกระทั่งความชื้นเมล็ดมีความชื้น
12% จึงนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบเช่นเดียว กับที่กล่าวมาแล้วและนำไปเก็บรักษา