Page 6 - ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5




                                                       การตรวจเอกสาร
               ปอเทือง
                              ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crotalaria juncea
                              วงศ์ : FABACEAE
                              ชื่อสามัญ : Sunn hemp, ปอเทือง
               ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                       ปอเทือง เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก สูง 180-300 เซนติเมตร ดอกสีเหลือง ฝักเป็น
               ทรงกระบอกยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร 1 ฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสีน้ำตาลหรือดำ

               มีความชื้น 8.2%-9.1% ( 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ดจำนวน 40,000-50,000 ) เมล็ด ปอเทืองนิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในสภาพ
               พื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปแบบพืชหมุนเวียน โดยการหว่านหรือโรยเมล็ดก่อนการปลูกพืชหลัก อย่างน้อย 2 เดือน แล้วไถ
               กลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50-60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชุ่มชื้น แล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูก
               ในรูปแบบพืชแซม โดยการปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปอเทืองให้น้ำหนักสดประมาณ 1.5-3.0 ตัน/ไร่ ให้ธาตุไนโตรเจน
               ประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่  การปลูกปอเทืองเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ จะต้องปลูกในช่วงที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงฝนใน
               ปริมาณมากในช่วงที่เริ่มออกดอก ติดฝัก และเก็บเกี่ยว มิฉะนั้นจะไม่ให้ผลผลิตหรือให้ผลผลิตน้อย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ
               120-150 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-120 กิโลกรัม/ไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2546)

               ลักษณะทางพืชไร่
                       ปอเทืองเป็นพืชทนแล้ง ชอบสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ดอน การระบายน้ำดี สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเหนียวดินร่วน
               ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบดินที่ชื้นและมีน้ำขัง
               เมล็ดปอเทือง
                       จากการศึกษาเมล็ดปอเทือง พบว่ามักจะเกิดความเสียหายค่อนข้างมาก โดยความเสียหายที่พบส่วนมากจะเป็น
               ความเสียหายเชิงกลที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บเกี่ยว ความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช เช่น มวนง่าม ซึ่งความเสียหายเหล่านี้
               ล้วนส่งผลต่อคุณภาพและการงอกของเมล็ดพันธุ์  (Arruda et al., 2016)


               การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์
                       การลดความชื้นเป็นการนำน้ำหรือความชื้นในเมล็ดออกสู่บรรยากาศและกลายเป็นความชื้นในอากาศ การลด
               ความชื้นประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ การนำน้ำหรือความชื้นที่อยู่ใจกลางเมล็ดไปสู่บริเวณผิวเมล็ดโดยการแพร่ และอีก
               ขั้นตอนคือน้ำบริเวณผิวเมล็ดระเหยเป็นไอออกสู่บรรยากาศรอบๆ เมล็ด การลดความชื้นของเมล็ดเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก
               เป็นการลดความเสียหายจากการสะสมความร้อนและจุลินทรีย์ ซึ่งจะช่วยรักษาความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดให้อยู่
               ในระดับที่สูง ทำให้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้อย่างปลอดภัย
               วิธีการลดความชื้น

                  1.  การลดความชื้นแบบธรรมชาติ (natural drying) คือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมธรรมชาติ วิธีการนี้มี
               ข้อเสียหลายประการ เช่น อุณหภูมิสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้เปลือกเมล็ดร้าวหรือแตกได้ อัตราการแห้งของเมล็ดไม่คงที่ และ
               ไม่สามารถควบคุมได้
                  2.  การลดความชื้นโดยใช้เครื่องอบ (artificial drying) การลดความชื้นด้วยเครื่องอบ มีข้อได้เปรียบคือสามารถ
               ควบคุมอัตราการแห้งได้ดีกว่าวิธีธรรมชาติ และลดความชื้นเมล็ดได้คราวละมากๆ การผลิตเมล็ดเพื่อการค้าจึงนิยมใช้วิธีนี้
               การลดความชื้นด้วยเครื่องอบแบ่งตามระดับการใช้อุณหภูมิได้เป็น 3 ระดับ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11