Page 10 - ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
2.2 การตรวจความชื้นของเมล็ด
นำเมล็ดพันธุ์ 50 เมล็ด ทำ 4 ซ้ำ ชั่งน้ำหนักสด แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 105องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จึงนำมาชั่งน้ำหนักแห้งหลังอบ นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาความชื้น โดยใช้สูตร (Anomymous, 1976)
เปอร์เซ็นต์ความชื้น = น้ำหนักสดของเมล็ด – น้ำหนักแห้งของเมล็ด x 100
น้ำหนักสดของเมล็ด
2.3 นำเมล็ดมาเก็บไว้ในถุงพลาสติกรัดยางให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นจากอากาศเข้าสู่เมล็ดพันธุ์ เก็บรักษาไว้ที่
อุณหภูมิห้อง ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ทุกๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 360 วัน ของการเก็บรักษา
2.4 การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
2.4.1 การตรวจสอบความงอกมาตรฐาน (Standard germination test) ทำตามวิธีการของ
ISTA (1985) นำเมล็ดพันธุ์จำนวน 50 เมล็ด ทำ 4 ซ้ำ เพาะเมล็ดพันธุ์บนกระดาษเพาะที่ทำให้ชื้นด้วยน้ำกลั่น (between
paper) นำกระดาษที่เพาะเมล็ดไว้แล้ววางในกล่องพลาสติก วางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประเมินผลความงอกโดยนับต้นกล้าที่
งอกปกติภายหลังเพาะได้ 5 และ 8 วัน
2.4.2 การตรวจสอบความแข็งแรง (Vigor test) วิธีการที่ใช้ได้แก่ ดัชนีความเร็วในการงอก
ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ทำการตรวจสอบความงอกมาตรฐานดังกล่าว โดยนำผลจากการประเมินมาคำนวณจาก
สูตร (AOSA, 1983) ดังนี้
ความเร็วในการงอก = จำนวนต้นกล้าปกติ + จำนวนต้นกล้าปกติ
จำนวนวันของการนับครั้งแรก จำนวนวันของการนับครั้งสุดท้าย
2.4.3 ความงอกในไร่ (Field emergence)
นำเมล็ดพันธุ์จำนวน 50 เมล็ด ทำ 4 ซ้ำ มาปลูกลงในตะกร้าพลาสติกที่ใช้ดินผสมเป็นวัสดุปลูก ปลูก
หลุมละ 1 เมล็ด ให้มีระยะระหว่างหลุมและแถว 2 x 2 เซนติเมตร รดน้ำทุกวันแต่ไม่ให้แฉะจนเกินไป ตรวจวัดความงอก
โดยนับจำนวนต้นกล้าที่งอกหลังจากที่ปลูกไปแล้ว 10 วัน โดยนับเฉพาะที่ต้นกล้าที่สมบูรณ์ มียอดและใบเลี้ยงโผล่พ้นผิว
ดินแล้ว