Page 13 - ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12


                   3.  การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์


                              ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ระยะเก็บเกี่ยว วิธีลดความชื้น และจำนวนวันที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มีอิทธิพลต่อ
                       คุณภาพเมล็ดพันธุ์ กล่าวคือ  พบความแตกต่างทางสถิติจากอิทธิพลของระยะเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ปอเทือง วิธีการ
                       ลดความชื้น และจำนวนวันในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ดังนี้

                              การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ปอเทืองในระยะแก่เก็บเกี่ยว (HM) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์
                       ความงอกในไร่นา และดัชนีความเร็วในการงอกสูงกว่าเมล็ดปอเทืองที่เก็บเกี่ยวในระยะแก่ทางสรีรวิทยา (PM)
                       อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ คือ เปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่นา และดัชนีความเร็ว
                       ในการงอกของเมล็ดปอเทืองที่เก็บเกี่ยวในระยะแก่เก็บเกี่ยว มีค่าเท่ากับ 73.50%  80.31% และ 10.95
                       ตามลำดับ ขณะที่ระยะแก่ทางสรีรวิทยา มีค่าเท่ากับ 67.88% 75.04% และ 10.19 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ทั้งนี้
                       เป็นผลมาจากการที่เมล็ดปอเทืองมีขนาดเล็ก ผนังฝักหุ้มเมล็ดบาง ทำให้ขณะเก็บเกี่ยวและกระบวนการคัดแยก
                       เมล็ด เมล็ดปอเทืองได้รับการกระทบเทือนเกิดความเสียหาย อีกทั้งเป็นระยะที่เมล็ดมีความชื้นสูง เมล็ดบอบช้ำ
                       และเชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์
                              วิธีการลดความชื้นมีอิทธิพลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ปอเทือง กล่าวคือ การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ปอเทือง
                       ด้วยวิธีต่างๆ ส่งผลให้ เปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่นา และดัชนีความเร็วในการงอก

                       ของเมล็ดปอเทืองแ  ตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีแนวโน้มสูงที่สุดในการลดความชื้นด้วยการใช้
                       แสงอาทิตย์ รองลงมาคือการลดความชื้นด้วยการตากลมในที่ร่ม และการอบด้วยตู้อบลมร้อน ตามลำดับ ทั้งนี้
                       เป็นผลมาจากการที่เมล็ดปอเทืองมีความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งการลดความชื้นด้วยแสงอาทิตย์ ทำให้ฝักปอเทือง
                       ได้รับความร้อนที่ทั่วถึง อีกทั้งในช่วงที่ทำการทดลองอยู่ในช่วงเข้าสู่ฤดูร้อน ปริมาณแสงแดดตลอดทั้งวันค่อนข้าง
                       สม่ำเสมอ ทำให้เมล็ดแห้งได้เร็ว ขณะที่การลดความชื้นด้วยตู้อบลมร้อน และการตากลมในที่ร่ม จะใช้
                       ระยะเวลาในการลดความชื้นมากกว่า ทำให้เมล็ดปอเทืองภายในฝักได้รับความเสียหายจากการเข้าทำลาย
                       ของเชื้อรา จึงส่งผลให้คุณภาพเมล็ดพันธุ์ลดลง

                              อิทธิพลของจำนวนวันที่เก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ปอเทือง กล่าวคือ เมล็ดพันธุ์ปอเทืองจะมี
                       เปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่นา และดัชนีความเร็วในการงอกลดลงเมื่อจำนวนวันใน
                       การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่เมล็ดนำสารอาหารที่สะสมไว้ไปใช้ ทำให้อาหารที่
                       สะสมไว้ในเมล็ดลดลง อีกทั้งอัตราการหายใจของเมล็ดสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อเก็บรักษาเมล็ดปอเทืองไว้เป็นระยะ
                       เวลานาน ความมีชีวิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ปอเทืองจึงลดลง (อนุรัชนี และคณะ, มปป) ซึ่งระยะเวลาที่
                       เหมาะสมต่อการเก็บรักษาเมล็ดปอเทืองคือ 0 – 90 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เมล็ดพันธุ์ปอเทืองมีคุณภาพในการ
                       งอกดีที่สุด โดยเมล็ดปอเทืองมีเปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐานเท่ากับ 84.5 - 90.17%  เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่
                       นาเท่ากับ 87.17 - 92.17% และดัชนีความเร็วในการงอกเท่ากับ 12.52 – 13.47
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18