Page 3 - ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
P. 3
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
ทะเบียนวิจัยเลขที่ 62-63-03-17-010000-014-102-1-11
ชื่อแผนงานวิจัย/โครงการวิจัย (ภาษาไทย) ผลของระยะเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นต่อความงอกและความแข็งแรงของ
เมล็ดพันธุ์ปอเทือง
(ภาษาอังกฤษ) Effects of Harvest Stages and Dehumidification on Germination and
Vigor of Sunn hemp (Crotalaria juncea) Seeds
กลุ่มชุดดินที่ 18 ชุดดิน เขาย้อย (Kyo)
สถานที่ดำเนินการ หมู่ที่ 8 ตำบล วังเย็น อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา
จุดพิกัด 47 P N1501252 E 750734
ผู้ดำเนินการ นางสาวธัญลักษณ์ เจริญพรภักดี Miss Thanyalak Charoenphonphakdi
ผู้ร่วมดำเนินการ นางสาวอรอนงค์ บัวดำ Miss Onanong Buadam
บทคัดย่อ
ปอเทืองเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่า
เมล็ดปอเทืองที่เกษตรกรนำไปปลูกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ ส่งผลให้เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินได้น้อย การศึกษา
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะการเก็บเกี่ยว และวิธีการลดความชื้นที่เหมาะสม ต่อความงอกและความ
แข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ปอเทือง โดยปลูกปอเทือง ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ต. วังเย็น อ. แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือน
พฤศจิกายน 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562 จากนั้นเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแก่ทางสรีรวิทยา (PM) และ
ระยะแก่เก็บเกี่ยว (HM) โดยการสังเกตลักษณะของเมล็ดและฝัก แล้วจึงนำเมล็ดไปลดความชื้น โดยแบ่งเป็น 3 วิธี
ได้แก่ การลดความชื้นด้วยแสงอาทิตย์ การอบด้วยตู้อบลมร้อน และการตากลมในที่ร่ม จากนั้นเก็บรักษาไว้ที่
อุณหภูมิห้อง ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่นา และ
ดัชนีความเร็วในการงอก ทุกๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 1 ปี ของการเก็บรักษา ผลการศึกษาพบว่า เมล็ดปอเทืองที่
ระยะแก่ทางสรีรวิทยามีความชื้น 42.58% ขณะที่ระยะแก่เก็บเกี่ยวมีความชื้น 16.09% เมล็ดปอเทืองที่ระยะแก่ทาง
สรีรวิทยามีขนาด และน้ำหนักสูงกว่าระยะแก่เก็บเกี่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ระยะเก็บเกี่ยว วิธีการลด
ความชื้น และระยะเวลาในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ปอเทือง โดยพบว่า
เมล็ดปอเทืองที่เก็บเกี่ยวในระยะแก่เก็บเกี่ยวและลดความชื้นโดยการตากลมในที่ร่มจะมีคุณภาพของเมล็ดพันธุ์สูงที่สุด
และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาเมล็ดปอเทืองคือ 0 - 90 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เมล็ดพันธุ์ปอเทืองมี
คุณภาพดีที่สุด กล่าวคือ เปอร์เซ็นต์ความงอกมาตรฐานของเมล็ด เท่ากับ 84.5 - 90.17% เปอร์เซ็นต์ความงอกในไร่
นา เท่ากับ 87.17 - 92.17% และ ดัชนีความเร็วในการงอก เท่ากับ 12.52 - 13.47