Page 15 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                              การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์การเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบของข้าวโพดหวาน แต่
                   ละตำรับการทดลองโดยวิเคราะห์ค่า ANOVA และเปรียบเทียบค่าแตกต่างโดยวิธี DMRT


                                                   ผลการทดลองและวิจารณ์
                              จากการศึกษาการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อผลิตข้าวโพดหวานอินทรีย์

                   ดำเนินการทดลองในพื้นที่แปลงเกษตรกร บ้านคลองมะละกอ ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
                   ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ได้เก็บรวบรวมข้อมูลน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งปอเทืองที่ปลูกระหว่างแถวพืชหลัก
                   ข้อมูลการเจริญเติบโต องค์ประกอบและผลผลิตข้าวโพดหวาน (กิโลกรัมต่อไร่) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และ
                   การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน ปรากฏผล ดังนี้

                   การเจริญเติบโต น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และปริมาณธาตุอาหารพืชปุ๋ยสด

                              ปีที่ 1 ทำการปลูกปอเทืองเพื่อสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวโพดในวิธีการที่ 8 พบว่า
                   ปอเทืองที่ปลูกมีการเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย 127.9 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดเฉลี่ย 574.2 กิโลกรัมต่อไร่
                   น้ำหนักแห้งเฉลี่ย 155.0 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณมวลชีวภาพน้อยมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม
                   และความแห้งแล้งในพื้นที่ทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี สำหรับปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวข้าวโพดในวิธีการที่
                   5-8 พบว่า มีการเจริญเติบโตทางความสูงระหว่าง 153.5-168.1 เซนติเมตร เฉลี่ย 160.9 เซนติเมตร มีน้ำหนัก
                   สดระหว่าง 1,223.2- 1,758.8 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักแห้งมีค่าระหว่าง 375.0-432.7 กิโลกรัมต่อไร่ การ
                   ปลูกแซมระหว่างแถวในวิธีการที่ 5 ที่มีการใช้ปุ๋ยมูลโค ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ยมากกว่าวิธีการอื่น คือ
                   1,758.8 และ 432.7 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ วิธีการที่ 7 ปลูกแซมในแปลงที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                   ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ย 1,579.5 และ 394.4 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 8 การปลูกแซมระหว่างแถว
                   แปลงที่สับกลบปุ๋ยพืชสด ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ย 1,293.3 และ 375.0 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการที่
                   6 การใช้ปุ๋ยหมัก ปอเทืองให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ยน้อยสุด 1,223.2 และ 321.7 กิโลกรัมต่อไร่
                   ตามลำดับ (ตารางที่ 1) จะเห็นว่าปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวมีการเจริญเติบโตและให้มวลชีวภาพสูงกว่า
                   ปอเทืองที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวโพด เนื่องจากอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ในแปลง รวมทั้งการปลูก
                   ข้าวโพดแบบแถวคู่และให้น้ำแบบหยดระหว่างแถวทำให้ปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ย
                   อินทรีย์และความชื้นในดิน ทำให้มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า

                   ตารางที่ 1 การเจริญเติบโต น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งพืชปุ๋ยสด ปีที่ 1

                                      วิธีการปลูกปอเทือง                 ความสูง    น้ำหนักสด  น้ำหนักแห้ง
                                                                          (ซม.)      (กก./ไร่)   (กก./ไร่)

                     ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าวโพด
                     สับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าวโพด (T8)              127.0       574.2       155.0
                     ปลูกแซมระหว่างแถวข้าวโพด
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยมูลโค (T5)            165.0      1,758.8      432.7
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (T6)             157.2      1,223.2      321.7
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (T7)   168.1   1,579.5      394.9
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่สับกลบปุ๋ยพืชสด (T8)         153.5      1,293.3      375.0

                                                                  เฉลี่ย   160.9     1,463.7      381.1
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20