Page 14 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ดินเฉลี่ย 2.7 เปอร์เซ็นต์ ได้ปรับเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่ช่วยยกระดับอินทรียวัตถุในดินเป็น 3 เปอร์เซ็นต์
(ต้องการอินทรียวัตถุเพิ่ม 0.3 เปอร์เซ็นต์) โดยอัตราที่ใช้คำนวณจากปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และปุ๋ยอินทรีย์
แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ละเท่ากัน ครั้งแรกหว่านทั่วแปลงในช่วงเตรียมดิน และใส่ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน จาก
ผลวิเคราะห์ตัวอย่างดินก่อนการทดลอง (ตารางที่ 11) และผลวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งพบว่าปุ๋ยคอกมีปริมาณ
อินทรียวัตถุ 40.92 เปอร์เซ็นต์ ปุ๋ยหมักมีอินทรียวัตถุ 25.94 เปอร์เซ็นต์ และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีปริมาณ
อินทรียวัตถุ 53.93 เปอร์เซ็นต์ (ตารางผนวกที่ 9) เพื่อยกระดับอินทรียวัตถุในดิน 3 เปอร์เซ็นต์ ได้มีการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์อัตราต่างๆ ดังนี้ ปุ๋ยคอก 2,287.0 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยหมัก 3,608.0 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูง 1,736.0 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งใช้วิธีการคำนวณ ถ้าต้องการเพิ่มอินทรียวัตถุ 0.3 เปอร์เซ็นต์ ในดิน 1 ไร่
ที่มีน้ำหนัก 312,000 กิโลกรัม (ความหนาแน่นรวม 1.31 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ต้องใส่อินทรียวัตถุกี่
กิโลกรัม
ดิน 100 กิโลกรัม ต้องการอินทรียวัตถุ 0.3 กิโลกรัม
ดิน 312,000 กิโลกรัม ต้องการอินทรียวัตถุ 312,000x0.3 = 936.0 กิโลกรัม
100
ปุ๋ยคอกมีอินทรียวัตถุ 40.92 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะใช้ปุ๋ยคอกเพิ่มอินทรียวัตถุให้ได้ 0.3 เปอร์เซ็นต์ จะต้อง
ใช้ปุ๋ยคอกกี่กิโลกรัม คำนวณได้ ดังนี้
อินทรียวัตถุ 40.92 กิโลกรัม ได้จากปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม
อินทรียวัตถุ 936.0 กิโลกรัม ได้จากปุ๋ยคอก 100x936.0 = 2,287.39 กิโลกรัมต่อไร่
40.92
ดังนั้น ใช้ปุ๋ยคอก จำนวน 2,287.39 กิโลกรัมต่อไร่
ปุ๋ยหมักมีอินทรียวัตถุ 25.94 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ใช้ปุ๋ยหมัก จำนวน 3,608.32 กิโลกรัมต่อไร่
และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีอินทรียวัตถุ 53.93 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในการ
ทดลองนี้ จำนวน 1,735.58 กิโลกรัมต่อไร่
5. การปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว วิธีการทดลองที่ 5-8 หว่านเมล็ดปอเทืองระหว่างแถว
ข้าวโพด หลังจากปลูกข้าวโพดหวานไปแล้ว 3 วัน ปลูกโดยโรยเมล็ดเป็นแถวใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 10 กิโลกรัมต่อ
ไร่ เมื่อถึงระยะออกดอก ตัดในระดับติดพื้นดินแล้ววางคลุมดินในแปลง
6. การปลูกข้าวโพดหวาน ใช้พันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ บริกซ์ 3 ปลูกแบบแถวคู่ ระยะ
ระหว่างแถว 120 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวคู่ 30 เซนติเมตร ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร หยอดเมล็ด
หลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อเมล็ดงอกแล้วถอนเหลือ 1 ต้นต่อหลุม และให้น้ำแบบระบบน้ำหยด
7. การดูแลรักษาแปลง กำจัดวัชพืช ป้องกันแมลงศัตรูพืช ปฏิบัติตามหลักการผลิตพืชอินทรีย์
8. เก็บผลผลิตข้าวโพดหวานเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว
การเก็บข้อมูล
1. เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองโดยสุ่มเก็บทั่วแปลง เก็บตัวอย่างหลังการเก็บผลผลิต และ
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง เก็บทุกวิธีการ โดยเก็บที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร วิเคราะห์หา pH OM P K Ca
Mg และความหนาแน่นรวมของดิน
2. เก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ วิเคราะห์หาสมบัติทางเคมี
3. เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งของปอเทือง วิเคราะห์หาปริมาณธาตุ
อาหาร N P K OC และ C/N ratio
5. เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตข้าวโพด ค่าความหวาน (พื้นที่
เก็บเกี่ยวผลผลิต 4x5 ตารางเมตร)
6. บันทึกค่าใช้จ่ายในการลงทุน เพื่อประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ