Page 10 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   สำหรับเกษตรอินทรีย์ PGS ที่รวบรวมโดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน-กรีนเนท ส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ผลพลอยได้
                   จากสัตว์ ปุ๋ยคอก แหนแดง ผลพลอยได้จากปาล์มน้ำมัน ผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาล สาหร่ายสีน้ำเงินแกม
                   เขียว แร่ดินเหนียว สารปรับปรุงดิน เช่น โดโลไมท์ ยิปซั่ม แร่หินภูเขาไฟ หินฟอสเฟต ซึ่งได้จากแหล่งธรรมชาติ
                   ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี แกลบ ถ่านแกลบ สาหร่ายทะเล และวัสดุหรือปัจจัยที่ได้จากกากเมล็ดพืช / กากที่

                   เหลือจากการบีบน้ำมัน เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดสะเดา เมล็ดละหุ่ง ในกรณีของถั่วเหลือง ห้ามใช้กากถั่ว
                   เหลืองจีเอ็มโอ (https://www.greennet.or.th)
                              ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากพืชและสัตว์ ซึ่งรวมทั้งส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
                   ตลอดจนสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ย
                   พืชสด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ได้เนื่องจาก
                   อินทรียวัตถุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีวเคมีของดินอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง เป็นการ
                   เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน แต่มีข้อจำกัดคือมีปริมาณธาตุอาหารพืชอยู่น้อย เนื่องจาก
                   แหล่งของปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากซากพืชหรือสัตว์ที่มีธาตุอาหารพืชแปรปรวนและสัดส่วนของธาตุอาหารไม่แน่นอน

                   การควบคุมให้ปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้ตรงกับชนิดและเวลาที่พืชต้องการทำได้ยาก ต้องใช้
                   เวลานานและในปริมาณที่ค่อนข้างมาก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                              ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากมูลสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ มูลเป็ด มูลไก่ มูลโค มูลสุกร เป็น
                   ต้น เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานาน ปุ๋ย
                   คอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ช่วย
                   ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใส่ปุ๋ยคอกในอัตราที่เหมาะสมและต่อเนื่องจะช่วย
                   ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินได้ อัตราการใส่ปุ๋ยคอก จากการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก

                   อัตรา 2-3 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มสูงขึ้น เช่น การใช้ปุ๋ยคอก 2 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ย
                   ไนโตรเจน 8 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตคะน้าสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว และการใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 3 ตันต่อไร่
                   ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตข้าวโพดสูงสุด และพบว่าส่วนใหญ่แนะนำให้
                   เกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 1-3 ตันต่อไร่ สำหรับพืชไร่และนาข้าว (สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
                              ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำเศษวัสดุ เศษพืช เศษใบไม้ มูลสัตว์ มาหมักรวมกันและ
                   ผ่านกระบวนการย่อยสลาย จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ การใช้ปุ๋ย
                   หมักอย่างต่อเนื่องมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงดินทั้งสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ จากข้อมูลการทดลอง
                   เกี่ยวกับปุ๋ยหมักอัตราต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและผลผลิตพืช พบว่า อัตราการใส่ปุ๋ยหมัก
                   ค่อนข้างสูง 4-6 ตันต่อไร่ ในดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำทางภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และใส่อัตรา 2-4
                   ตันต่อไร่ สำหรับดินเหนียว หรือดินร่วนปนทรายทางภาคเหนือและภาคกลาง มีรายงานผลของปุ๋ยหมักต่อการ

                   เจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานในชุดดินมาบบอนซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย พบว่าการใช้ปุ๋ยหมัก 6 ตัน
                   ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวโพดหวานสูงสุด 2,312.4 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การใส่ปุ๋ยหมัก 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร
                   16-20-0 ให้ผลผลิตข้าวโพดหวานสูงถึง 2,739.1 กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
                              ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์และหรืออนินทรีย์ธรรมชาติทาง
                   การเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ หรือการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการสลายตัวดีแล้ว
                   ผสมกับวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง เช่น กระดูกป่น มูลค้างคาวหรือหิน
                   ฟอสเฟต เป็นต้น ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารพืชสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป

                   เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและจุลธาตุแก่พืช มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืช มีการปลดปล่อยธาตุอาหาร
                   ให้แก่พืชแบบช้า ๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการลดหรือทดแทนการใช้
                   ปุ๋ยเคมี และเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้  อย่างไรก็ตาม พืชแต่ ละชนิดต้องการปริมาณธาตุอาหารที่แตกต่าง
                   กันในแต่ละช่วงเวลาของการเจริญเติบโต ดังนั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงควรคำนึงถึงความต้องการปริมาณ
                   และชนิดของธาตุอาหารในแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืชรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย การผลิต
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15