Page 12 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   เป็นการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย  โดยเน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญเป็นการใช้ประโยชน์จาก
                   ผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้สารเสริมการเจริญเติบโตจาก
                   ธรรมชาติ ควบคุมโรคแมลงโดยวิธีการผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี ใช้พันธุ์ที่เหมาะสม มีความต้านทานโดย
                   ธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดการระบาดของโรคแมลง เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์

                   มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกข้าวโพดหวานทั่วไปจะแตกต่างกันตรงที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
                   สังเคราะห์ (https://drgondragon.blogspot.com) ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวโพดหวานแบบแปรรูปและ
                   แช่แข็งไปยังตลาดโลกและตลาดในประเทศญี่ปุ่น  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการส่งออกข้าวโพดหวานสู่ตลาดโลก
                   เนื่องจากความต้องการข้าวโพดหวานเกษตรอินทรีย์ของตลาด นอกจากนี้ตลาดในสหภาพยุโรปมีการเข้มงวดใน
                   การตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ประเทศไทยสามารถปลูก
                   ข้าวโพดหวานอินทรีย์ได้ตรงตามมาตรการเกษตรอินทรีย์สากลและมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง (zero-
                   detection of agricultural chemical residues) สามารถส่งออกไปจำหน่ายได้ในตลาดเดิม โดยลักษณะทั่วไป
                   ของข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้น สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ในระยะสั้น คือมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75

                   วัน  ดังนั้น จึงนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2554)
                              การปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี ควรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ส่วนใหญ่
                   เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม ซึ่งมีหลายพันธุ์ที่ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก ข้าวโพดหวาน
                   ลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 3 เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งมีลักษณะ
                   พันธุ์คือ ต้นแข็งแรง โตเร็ว ติดฝักสม่ำเสมอ ขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดและรสชาติดี
                   สามารถให้ผลผลิตสูง ผลผลิตทั้งเปลือก 3,719 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตปอกเปลือก 2,553 กิโลกรัมต่อไร่
                   นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อ

                   พันธุกรรมที่มีในประเทศ  ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้กว้างขวาง (เทคโนโลยีชาวบ้าน, 2560)

                                                ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                   ระยะเวลาดำเนินการ   เริ่มต้นเดือนมกราคม 2562
                                             สิ้นสุดเดือน กันยายน 2563
                   สถานที่ดำเนินการ    1. ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว

                                       2. Site characterization  กลุ่มชุดดินที่ 46 จัดเป็นกลุ่มดินตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์
                   ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงเป็นกลาง การระบายน้ำดี สภาพปัญหาคือเป็นดินตื้นถึงชั้นก้อนกรวดหรือเศษหินปน
                   ลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำ เกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชัน และ
                   บางพื้นที่มีก้อนกรวดหรือเศษหินกระจัดกระจายอยู่ที่ผิวดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548) จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง
                   ดินในพื้นที่ก่อนทำการทดลองพบว่า ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.1  ปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย 2.7
                   เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 2.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียม 53 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม ปริมาณแคลเซียม 4,428 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแมกนีเซียม  344  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมี
                   ความแน่นรวมเฉลี่ย 1.31 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17