Page 11 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักแต่ละชนิด ได้แก่ สูตรไนโตรเจนสูง และสูตรฟอสฟอรัสสูง จะ
ทำให้ใส่ปุ๋ยได้ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งจะทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตพืช (กรม
พัฒนาที่ดิน, 2551)
พืชปุ๋ยสด เป็นพืชที่ปลูกแล้วสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ที่นิยมปลูกกันทั่วไปจะเป็นพืชตระกูลถั่วซึ่งที่
รากของพืชตระกูลถั่วจะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียชนิดหนึ่งคือไรโซเบียมซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้
กลายเป็นกรดอะมิโนและสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ ให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ประโยชน์ของพืชปุ๋ยสด ช่วย
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาความชุ่มชื้น ทำให้ดินร่วนซุย ลดปริมาณ
การใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน และเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น
ปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ขึ้นได้ในสภาพอากาศทั่วไป ทนแล้งได้
ดี นิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในสภาพพื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปของพืชหมุนเวียน หว่านหรือโรยเมล็ดเป็นแถว ไถ
กลบเมื่ออายุ 55 วัน หรืออาจปลูกในรูปของพืชแซมระหว่างแถวของพืชหลัก เช่น ปลูกแซมในแถวข้าวโพด เป็น
ต้น ปอเทืองให้น้ำหนักสดประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักแห้งเฉลี่ย 500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ธาตุ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเฉลี่ย 2.76 0.22 และ 2.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (กรมพัฒนาที่ดิน,
2558)
ข้าวโพดหวาน (Sweet corn) เป็นพืชที่นิยมและต้องการของตลาด ปลูกง่าย โตเร็ว อายุสั้น และ
มีศักยภาพสูงในเชิงเศรษฐกิจ ให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูกค่อนข้างสูง ข้าวโพดหวานสามารถนำมาปรุง
เป็นอาหาร ของหวานหรือแปรรูปได้หลากหลายอย่าง ให้ความหวานสูง ไขมันต่ำ รวมถึงการนิยมรับประทาน
เป็นอาหารโดยตรงด้วยการต้มหรือคั่วประโยชน์และคุณค่าทางอาหารพบว่า ข้าวโพดหวานต้มช่วยลดความเสี่ยง
โรคหัวใจ และมะเร็งได้ ข้าวโพดหวานต้มสามารถปลดปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญชื่อ กรดเฟอรูลิก
(ferulic acid) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรดเฟอรูลิกยังนิยมใช้
สำหรับต้านการแก่ของเซลล์ ป้องกันเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด ต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วย
ป้องกันมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด (www.puechkaset.com)
ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดคือดินร่วน ดินเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทรายความ
อุดมสมบูรณ์สูงมีอินทรียวัตถุสูงกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ระหว่าง 5.5 – 6.8 ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 ก่อนพรวนดินให้ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วอัตรา 500 -
1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกถั่วเขียวอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ไร่ หรือปลูกถั่วพร้าอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่
หรือหลังเก็บผักข้าวโพดหวานแล้วไถกลบต้นข้าวโพดเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม สามารถ
ปลูกได้ตลอดทั้งปี ระยะเวลาปลูกที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ควรปลูกในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
ถึงเดือนมกราคม หรือปลูกต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม การปลูกบนพื้นราบ เตรียมดินโดยไถ
ด้วย ผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน แล้วพรวนด้วยผาลเจ็ด ปลูกเป็นแถวเดี่ยว ระยะ
ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ถ้าปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถว 120
เซนติเมตร โดยปลูกข้างสันร่องแบบสลับฟันปลา ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดต่อ
หลุม ใช้จำนวนเมล็ด 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปลูกที่เหมาะสมสำหรับบริโภคฝักสดประมาณ 8,500 ต้นต่อ
ไร่ เมื่อข้าวโพดหวานมีอายุประมาณ 14 วัน ถอนแยกเหลือหลุมละ 1 ต้น ถ้าดินมีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียมต่ำ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายและสูตร 15-15-15 สำหรับ
ดินร่วนปนทราย อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นพร้อมปลูก เมื่อข้าวโพดอายุ 20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา
50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นหรือแถวแล้วพรวนกลบ การให้น้ำ
สามารถให้ได้ทั้งแบบตามร่องหรือแบบพ่นฝอย กำจัดวัชพืชเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 20 และ 45 วัน สามารถ
เก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 18-20 วัน หลังจากข้าวโพดออกไหม (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2553)
การผลิตข้าวโพดหวานอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีการเกษตรทุกชนิด ซึ่งนอกจาก
จะทำให้ได้ผลผลิตข้าวโพดหวานมีคุณภาพสูง และปลอดสารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ