Page 9 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การตรวจเอกสาร
ดินตื้นเป็นดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปะปน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของราก
พืช เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะมีปริมาณธาตุอาหารน้อย ไม่อุ้มน้ำ เนื้อดินเหนียวมีน้อย ทำให้การ
เกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย จากการสำรวจพบว่า ดินตื้นมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ
34.04 ล้านไร่ พบกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทยการปลูกพืชในดินตื้นควรเลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนา
มากกว่า 25 เซนติเมตร เลือกชนิดพืชปลูกและมีการจัดการที่เหมาะสม หากเป็นพืชไร่ควรเลือกพืชที่มีระบบราก
ตื้น และปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ การใช้น้ำ
หมักชีวภาพ การคลุมดินเพื่อเก็บรักษาความชื้น ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการปรับปรุงดินตื้นเพื่อเพิ่มความอุดม
สมบูรณ์ของดิน และส่งผลต่อเนื่องถึงผลผลิตและการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
กลุ่มชุดดินที่ 46 เป็นกลุ่มดินตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงเป็นกลาง เป็น
กลุ่มชุดดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมทางการเกษตร หากนำมาใช้ปลูกพืชจะได้ผลผลิตและคุณภาพต่ำ ดังนั้น
จำเป็นต้องทำการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยให้สมบัติทางกายภายและทางเคมีของดินดีขึ้น
กลุ่มชุดดินที่ 46 ประกอบด้วยชุดดินเชียงคาน กบินทร์บุรี โป่งตอง และชุดดินสุรินทร์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
ชุดดินกบินทร์บุรี เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรังหนาแน่น ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วน
เหนียวปนลูกรัง สีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
หรือดินเหนียวและมีลูกรังหนาแน่น สีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ข้อจำกัด เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรังหนาแน่น ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ดินจะถูกชะล้าง
พังทลายได้ง่าย การนำมาใช้ประโยชน์เพื่อปลูกพืช ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืช
สด เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การปลูกพืชไร่หรือพืชผักปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3-4 ตันต่อไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัมต่อไร่
ไถกลบปุ๋ยพืชสดในระยะออกดอก ประมาณ 55-60 วัน ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือน้ำหมัก
ชีวภาพ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามชนิดพืชที่ปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ และความ
หลากหลายทางชีวภาพ มีการจัดการระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่
หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชที่
เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ย
หมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรง
ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช และผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัย ปราศจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้ง
ผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง (อภิชาติ, 2549)
ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม คือ กระบวนการรับรองผู้ผลิตอินทรีย์ตามหลักการและมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง ซึ่งเรียกว่า Participatory
Guarantee System (PGS) การรับรองคุณภาพมุ่งเน้นการรับประกันคุณภาพในท้องถิ่น โดยการรับรอง
เกษตรกรผู้ผลิตที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม เครือข่าย กระบวนการเรียนรู้ การ
แลกเปลี่ยนความรู้ ความโปร่งใส และความไว้วางใจกัน ระบบการรับรองแบบนี้มีลักษณะรูปแบบสำคัญ คือ มี
มาตรฐานข้อกำหนดและยอมรับร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เหมาะกับเกษตรกรผู้ผลิตรายย่อย มีข้อสรุปสำหรับ
เกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มีระบบจัดการเอกสารและกระบวนการ ให้คำปฏิญาณร่วมกัน และมีตรา
รับรองที่แสดงถึงสถานภาพเกษตรอินทรีย์ร่วมกัน (http://www.organic.moc.go.th)
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่อนุญาตให้ใช้ในระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือระบบชุมชน
รับรอง ในแต่ละระบบมาตรฐาน มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตแต่ละอย่าง สารบางอย่างอาจ
อนุญาตให้ใช้ในระบบมาตรฐานบางระบบ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอีกบางระบบ ทะเบียนรายชื่อปัจจัยการผลิต