Page 8 - การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช Effective selection of microbial against root knot nematode
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                            1) การแยกจุลินทรีย์

                              ท าการแยกจุลินทรีย์ดิน โดยแยกเป็นแบคทีเรียและรา ใช้วิธี Spread plate ชั่งตัวอย่างดิน 1
                                                                                            -5
                                                                                        -3
                   กรัม ละลายในน้ ากลั่นปลอดเชื้อมาเจือจางให้มีระดับความเข้มข้นที่เหมาะสม (10 -10 ) แล้ว Spread
                                                                 ๐
                   ลงบนอาหาร Nutrient  agar  (NA)  บ่มที่อุณหภูมิ 30 C  เป็นเวลา 3 วัน และ subculture  จนได้เชื้อ
                   บริสุทธิ์และเก็บรักษาเพื่อศึกษาขั้นตอนต่อไป

                            2) การทดสอบการผลิตเอนไซม์โปรติเอสและไคติเนส
                              2.1) น าเชื้อบริสุทธิ์มาทดสอบโดยใช้เข็มเขี่ยปลายแหลมปลอดเชื้อเขี่ยโคโลนีเดี่ยวของเชื้อ

                   แบคทีเรียและเชื้อรา  ที่คัดแยกได้มาแตะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Skim  milk  agar  และ Chitin  selective
                                                ๐
                                      ๐
                   agar บ่มที่อุณหภูมิ 30 C และ 45 C เป็นเวลา 3-7 วัน สังเกตวงใส (clear zone) ที่ปรากฏบนผิวหน้า
                   อาหารและ วัดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Ø) ของวงใส คัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อน าไปทดสอบในขั้นตอนต่อไป

                              2.2) การวิเคราะห์ปริมาณเอนไซม์โปรทีเอส และไคติเนส

                                   วิเคราะห์กิจกรรมของเอนไซม์ protease  โดยน าน้ าเลี้ยงเชื้อ จากข้อ 1. ปริมาณ 1 มล.
                   ใส่หลอดทดลอง ปริมาตรหลอดละ 1 มล. ทุก ๆ หลอดเติมสารละลายเคซีน (casein)  เข้มข้น 1  %  ใน 0.1

                   molar photphate buffer pH 7.0 จ านวน 1 มล. เขย่าให้เข้ากันดี บ่มที่อุณหภูมิ 37 °C เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา

                   นาน 1 ชั่วโมง แล้วหยุดปฏิกิริยาด้วยสารละลาย Trichloroacetic acid (TCA) เข้มข้น 10 % จ านวน 3 มล.
                   ผสมให้เข้ากันแล้วตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 37  °C  นาน 20  นาที ดูดส่วนใสไปหมุนเหวี่ยงที่

                   ความเร็ว 12,000  รอบ/นาที นาน 10  นาที น าส่วนใสที่ได้ปริมาตร 0.5  มล. มาเติม 0.4  molar  Na CO
                                                                                                         3
                                                                                                      2
                   จ านวน 2.5 มล. ผสมให้เข้ากันแล้วเติม 1 Folin Ci°Calteu reagent จ านวน 0.5 มล. ผสมให้เข้ากันอีกครั้ง
                   ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37 °C นาน 10 นาที แล้วน าไปวัดค่าดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง spectrophotometer ที่ความ

                   ยาวคลื่น 660 nm ดัดแปลงตามวิธีของ Yang และ Wang (1999) ค่าดูดกลืนแสงที่ได้น าไปอ่านค่าเพื่อแปลง
                   เป็นปริมาณกรดอะมิโน ที่ถูกย่อยออกจาก casein  น าค่าไปค านวณกิจกรรมของเอนไซม์ โดยการวิเคราะห์

                   ปริมาณกรดอะมิโน (tyrosine  equivalent)  ที่ถูกย่อยออกจากเคซีน กิจกรรมของเอนไซม์จ าเพาะ (specific
                   activity)  1  หน่วย (unit)  ประเมินจากปริมาณกรดอะมิโน (tyrosine  equivalent)  1  umol  ที่ถูกย่อยจาก

                   เคซีนต่อมิลลิกรัมโปรตีนใน 1 ชั่วโมงใน reaction mixture

                                   การวิเคราะห์ปริมาณเอนไซม์ไคติเนส น าน้ าเลี้ยงเชื้อ จากข้อ 1. จ านวน 0.1 มล.
                   บ่มร่วมกับสารละลาย colloidal chitin 1 เปอร์เซ็นต์ ใน 0.1 molar acetate buffer pH 5.0 จ านวน 0.9 มล.

                   ที่อุณหภูมิ 37 °C นาน 1 ชม. (ดัดแปลงจาก Saksirirat and Hoppe, 1991) ปริมาตร 0.1 มล. เขย่าให้เข้ากัน

                   ด้วย Vortex mixer หยุดปฏิกิริยาโดยน าหลอดไปต้มในน้ าเดือดนาน 20 นาที น าสารละลายที่ได้ไปวิเคราะห์
                   น้ าตาลรีดิวซ์ตามวิธีของ Somogyi (1952) วัดค่าการดูดกลืนแสงด้วย spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น

                   520 nm ซึ่งกิจกรรมของเอนไซม์ 1 หน่วย (unit) ประเมินจากปริมาณน้ าตาลรีดิวซ์ (N-acetylglucosamine

                   equivalent) คิดเป็น 1 umol ที่ถูกย่อยออกจาก colloidal chitin ใน 1 ชม./มก.โปรตีนใน reaction mixtu
                   โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของ N-acetylglucosamine
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13