Page 10 - การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช Effective selection of microbial against root knot nematode
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                  ต ารับที่ 5 ใส่แบคทีเรียควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม isolate ที่ 2 (NW9-A1)

                                  ต ารับที่ 6 ใส่แบคทีเรียควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม isolate ที่ 3 (NT2-2)
                            2) การเตรียมไข่ไส้เดือนฝอย น ารากปมมะเขือเทศจากต้นอายุ 60-90 วัน มาล้างด้วยน้ าให้

                   สะอาด จากนั้นตัดให้มีขนาด 3-5 ซม. แช่ในสารละลายคลอร็อก 20% (sodium hypochlorite 1.0%)
                   น าไปกวนด้วยเครื่องกวนราก 4 นาที เพื่อแยกไข่ออกจากราก แล้วรินผ่านตระแกรงหยาบ 32 เมช ฉีดน้ า

                   ไล่ไข่ที่อยู่บนตระแกรงลงในกะละมัง เติมน้ าลงในกะละมังเพื่อเจือจางคลอร็อก จากนั้นเทผ่านตระแกรง
                   500 เมช ฉีดน้ าไล่ไข่ไส้เดือนฝอยรากปมที่อยู่บนตระแกรงลงในกะละมังอีกครั้ง ท าเช่นนี้ 3 ครั้ง ในครั้ง

                   สุดท้ายฉีดน้ าไล่ไข่ที่อยู่บนตระแกรงลงในบีกเกอร์ สุ่มตรวจนับความหนาแน่นของไข่ไส้เดือนฝอยรากปมที่

                   แขวนลอยในน้ า โดยสุ่มจากบีกเกอร์ครั้งละ 5 มล. เทใส่ถาดนับพลาสติกสี่เหลี่ยมขนาด 6x6 ซม. ซึ่งมีขีด
                   เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขนาดเท่ากันที่ก้นถาด ตรวจนับภายใต้กล้องสเตอริโอ ท าซ้ า 3 ครั้ง แล้วค านวณ

                   ปรับความหนาแน่นของไข่ให้ได้ความหนาแน่นประมาณ 1,000 ไข่ในน้ า 1 มล.

                            3) การเตรียมต้นกล้ามะเขือเทศ น าเมล็ดมะเขือเทศพันธุ์ลูกท้อ มาฟอกฆ่าเชื้อบริเวณผิว ตาม
                   วิธีการของ Mohammmed et al. (2008) จากนั้นน าเมล็ดไปเพาะในถาดเพาะขนาด 28x54 ซม. (50

                   หลุม) ใช้พีทมอสที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้วเป็นวัสดุเพาะ รดน้ าวันละ 1 ครั้ง จนมะเขือเทศอายุได้ 3 สัปดาห์

                   จึงน ามาทดลอง
                            4) การเตรียมเชื้อจุลินทรีย์ การเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เลี้ยงในอาหาร PDB เป็นเวลา 20-24 ชั่วโมง

                   แล้วน าไป centrifuge  น าเชื้อที่ตกตะกอนไผสมน้ ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อน าไปทดสอบ โดยใช้เชื้อ ที่มีปริมาณ
                            7
                                9
                   เท่ากัน 10  -10  CFU/ml
                            5) การเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยรากปม น าตัวอย่างดินที่เก็บจากแหล่งที่พบการระบาด

                   ของไส้เดือนฝอยรากปม ผสมกับดินที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วในอัตราส่วน 1:1  น าไปใส่กระถางขนาดเส้นผ่าน
                   ศูนย์กลาง 15 ซม.ปลูกต้นมะเขือเทศอายุ 30 วันลงในกระถางดูแลรักษาต้นมะเขือเทศโดยรดน าวันละ 1

                   ครั้งและให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ทุก 2 สัปดาห์  เมื่อมะเขือเทศอายุครบ 60 วัน ท าการถอนต้นมะเขือเทศ
                   แล้วล้างราก ตรวจสอบรากปมที่ต้นมะเขือเทศ และน าไปคัดแยกไส้เดือนฝอยรากปม รวมถึงไข่ไส้เดือน

                   ฝอยรากปม น ามาท าสารแขวนลอย

                            6) ใส่สารแขวนลอยไข่ไส้เดือนฝอย ความเข้มข้น 1,000  ไข่/มล. จ านวน 5 มล. ลงในรูลึก
                   ประมาณระดับรากมะเขือเทศ ห่างโคนต้นประมาณ 4 ซม. จ านวน 5 รูๆ ละ 1 มล. รอบโคนต้นมะเขือเทศ

                   อายุ 30  ซึ่งรองก้นหลุมด้วยเชื้อรา และแบคทีเรียควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม  ดูแลรักษาต้นมะเขือเทศ

                   โดยรดน้ าวันละ 1 ครั้งและให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ทุก 2 สัปดาห์
                            7) การเก็บข้อมูล วัดประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียต่อการควบคุมโรครากปมของมะเขือเทศ

                   หลังจากปลูก 55 วัน โดยวัดความสูงของต้นมะเขือเทศ น าหนักสด ความรุนแรงของการเกิดปมที่ราก โดยคิด

                   เป็นเปอร์เซ็นต์พื้นที่รากที่เกิดปมต่อระบบราก ตรวจนับจ านวนกลุ่มไข่และจ านวนไข่ต่อรากมะเขือเทศทั้ง
                   ต้น แล้วแปลงค่าเป็นจ านวนไข่ต่อราก 1 กรัม

                            8) การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติด้วย DMRT
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15