Page 3 - การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช Effective selection of microbial against root knot nematode
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   ทะเบียนวิจัยเลขที่    61 63 17 09 020001 005 105 01 23


                   ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) : การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช

                                    (ภาษาอังกฤษ) : Effective selection of microbial against  root knot nematode.
                   กลุ่มชุดดินที่        -

                   สถานที่ด้าเนินการ     ห้องปฏิบัติการจุลินทรีย์ทางการเกษตร และโรงเรือนทดลอง
                                         กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                   ผู้ร่วมด้าเนินการ
                       หัวหน้าโครงการ:  นายพิสิฏฐ์  กิมยงค์           นักวิชาการเกษตร ปฏิบัติการ
                                        กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                       ผู้ร่วมด้าเนินการ:   นางนวลจันทร์  ชะบา       นักวิชาการเกษตร ช านาญการพิเศษ
                                        นางจันจิรา  แสงสีเหลือง      นักวิชาการเกษตร ช านาญการพิเศษ

                                        นางสาวพนิดา  ปรีเปรมโมทย์     นักวิชาการเกษตร ช านาญการพิเศษ
                                       กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน  กรมพัฒนาที่ดิน


                                                           บทคัดย่อ

                              การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืชด าเนินการระหว่าง

                   ปี 2552-2563 ณ ห้องปฏิบัติการจุลินทรีย์ และโรงเรือนทดลอง กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน
                   เพื่อคัดแยกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช  พบว่า ตัวอย่างดินที่เก็บใน

                   ภาคสนามในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และเพชรบุรี สามารถแยก
                   จุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อรา 4 ไอโซเลต และแบคทีเรีย 101 ไอโซเลต  น าเชื้อจุลินทรีย์ที่แยกได้มาทดสอบ

                   การผลิตเอนไซม์โปรติเอสและไคติเนส พบว่า เชื้อที่ผลิตเอนไซม์โปรติเอสตอบสนองต่อการควบคุมโรค

                   รากปมได้ถึง 58  ไอโซเลต และส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้มากกว่า
                   60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เชื้อที่ผลิตเอนไซม์ไคติเนสตอบสนองต่อการควบคุมโรครากปมได้เพียง 3 ไอโซเลต

                   และมีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ไม่เกิน 60  เปอร์เซ็นต์ คัดเลือกจุลินทรีย์ที่มี

                   ประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอย 5 ไอโซเลต ซึ่งพิจารณาจากเชื้อที่ผลิตเอนไซม์โปรติเอสมาจ าแนก
                   ชนิดด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล โดยสกัดดีเอ็นเอ  และน าส่งวิเคราะห์ล าดับเบส ได้เชื้อจุลินทรีย์ที่มี

                   ประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอย และไม่เป็นเชื้อก่อโรค ได้แก่ NW7-A3, NW9-A1, NT4-2 และ
                   NT2-2 และน าเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวมาทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมไส้เดือนฝอย พบว่า ความสูงของ

                   ต้นมะเขือเทศหลังปลูก 30 และ 37 วัน พบว่า ต ารับที่ 2 มีความสูงมากที่สุด รองลงมาคือ ต ารับที่ 6, 4, 3
                   และ 5 ส่วนต ารับที่ 1 มีความสูงน้อยที่สุด หลังปลูก 44 วัน พบว่า ต ารับที่ 2  มีความสูงมากที่สุด รองลงมา

                   ต ารับที่ 3, 6, 5 และ 4 ส่วนต ารับที่ 1 มีความสูงน้อยที่สุด และหลังปลูก 51 และ 58 วัน พบว่า ต ารับที่ 2

                   มีความสูงมากที่สุด รองลงมาคือต ารับที่ 5, 3, 6 และ 4 ส่วนต ารับที่ 1 มีความสูงน้อยที่สุด
   1   2   3   4   5   6   7   8