Page 5 - การคัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในพืช Effective selection of microbial against root knot nematode
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   เท่านั้นที่ท าให้ไข่สามารถฟักออกเป็นตัว  สารซึมจากราก(root diffusate) สามารถกระตุ้นให้ไข่ฟักออกมา

                   เป็นตัวได้มากกว่า 14 – 30 เปอร์เซ็นต์  เมื่อเปรียบเทียบกับไข่ที่ฟักในน้ า  อย่างไรก็ตามความชื้นในดินมี
                   ส่วนท าให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนได้ดีกว่าสารซึมจากรากไส้เดือนฝอย M. incognita ไข่ฟักเป็นตัวอ่อน

                   ในดินที่มีความชื้นและมีสารสกัดจากพืชตระกูลถั่วมากกว่าในน้ ากลั่นธรรมดา (สืบศักดิ์, 2532)
                              ตัวเต็มวัยเพศผู้  มีรูปร่างเหมือนระยะตัวอ่อนคือ มีรูปร่างยาวเรียวประมาณ 1,108 – 1,953

                   ไมโครเมตร  ผนังล าตัวใสมีรอยย่นเล็กน้อย spear ยาวประมาณ 20 – 24 ไมโครเมตร  อัณฑะมีจ านวน 1
                   อัน  ลักษณะสั้น  โค้งมน  และที่ปลายหางมี spicule ที่เห็นได้ชัดเจน  ไส้เดือนฝอยรากปมเป็นสิ่งมีชีวิตที่

                   ไม่มีกระดูกสันหลัง(invertebrate)  ล าตัวกลมและเรียวยาว  ไม่มีข้อปล้อง  ขนาดเล็ก  มองไม่เห็นด้วย

                   ตาเปล่า (อนันต์, 2529)  ไส้เดือนฝอยรากปมเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะแตกต่างกันโดยเพศเมียมีรูปร่าง
                   อ้วนกลมคล้านขนมทองหยอด (saccate form)  ฝังตัวอยู่ในรากพืช  ส่วนเพศผู้มีล าตัวเรียวยาวรูปร่าง

                   คล้ายหนอนตัวกลม  เคลื่อนที่เข้าออกรากพืชอย่างอิสระ (มัทนา, 2551)

                              วงจรชีวิต  สืบศักดิ์ (2532) รายงานว่าวงจรชีวิตของรากปมมี 2 ระยะ คือ
                              1. ระยะหากินเป็นอิสระ  ระยะนี้ไข่ของไส้เดือนฝอยอยู่ในกลุ่มไข่ซึ่งถูกหุ้มด้วยสารพวกเจ

                   ลาติน  เมื่อความชื้นในดินสูงท าให้ไส้เดือนฝอยรากปมฟักออกจากไข่เป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เคลื่อนที่อยู่

                   ระหว่างฟิล์มของน้ าผิวดิน
                              2. ระยะเป็นปรสิต  ตัวอ่อนระยะที่ 2 เคลื่อนที่เข้าหารากพืชได้ด้วยสารที่ปลดปล่อยออกมา

                   จากราก(root exudate)  และคาร์บอนไดออกไซด์จากจุลินทรีย์  โดยไส้เดือนฝอยฝังตัวเฉพาะส่วนหัวอยู่
                   บริเวณเซลล์ของรากต่อมาเจริญเป็นตัวเต็มวัยและวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

                              ปัจจุบันในประเทศไทยมีรายงานวา  พบไสเดือนฝอยรากปม 8 ชนิด คือ M.  incognita,

                   M. javanica, M. graminicola, M. arenaria (จรัส และ อานนท, 2526) M. hapha (สืบศักดิ์ และคณะ,
                   2530) M. exigua (อรุณ, 2505) M. microcephala (Cliff and Hirschmann, 1984) และM. naasi

                   (ประชา, 2515) ที่ระบาดมากทีสุดในประเทศไทยคือ M. incognita มีทั้งในพืชผัก ไมดอกไมประดับ พืชไร
                   ไมผล และในวัชพืชหลายประเภท (สืบศักดิ์, 2532)

                              ลักษณะอาการของพืชที่เกิดจากการท าลายฝอยรากปม

                              เซลล์บริเวณรากพืชถูกท าลายโดยตัวอ่อนระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยรากปมด้วยการใช้หลอด
                  อาหาร(stylet) ดูดน้ าและอาหารจากเซลล์ดังกล่าว  จากนั้นแบ่งตัวผิดปกติ  ขยายรวมกันเป็นเซลล์ขนาด

                  ใหญ่เรียกว่า  เซลล์ยักษ์(giant cell) ส่งผลให้รากบวมเป็นปุ่มปม  ปิดท่อล าเลียงน้ าและอาหารจากรากส่งไป

                  ยังล าต้นส่วนบนท าให้ต้นพืชหยุดการเจริญเติบโต  ในฝรั่งหยุดการเจริญเติบโต  ท าให้ต้นโทรม (slow
                  deline)  ใบเปลี่ยนสีคล้ายอาการขาดธาตุอาหารออกดอกติผลน้อย  และผลมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์

                  นอกจากนี้  การเข้าท าลายของไส้เดือนฝอยยังส่งเสริมให้เกิดภาวะโรคร่วม (disease complex) จากเชื้อรา

                  Fuarium oxysporum และ Phythium sp. ท าให้ความสูญเสียของโรครุนแรงมากขึ้น (สมชาย, 2549)
                              การระบาดในพืชท าให้ต้นจะแคระแกรนและเหี่ยวในเวลาแดดจัดเนื่องจากเกิดเป็นปม  ท าให้

                   การเคลื่อนที่ของน้ าและแร่ธาตุไม่สะดวก  ในมันฝรั่งขนาดของหัวเล็กลงที่ส าคัญคือบริเวณรอบๆ หัว  จะ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10