Page 17 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน จากผลวิเคราะห์ดินหลังปลูก 1 เดือน พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินทุก
ตำรับการทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากดินที่เก็บก่อนการทดลอง โดยแต่ละตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่าง
กันทางสถิติและหลังเก็บเกี่ยวปริมาณอินทรียวัตถุในดินทุกตำรับการทดลองลดลงและไม่มีความแตกต่างกัน
ทางสถิติเช่นกัน (ตารางที่ 5) เช่นเดียวกับนวลจันทร์และคณะ (2560) จะเห็นได้ว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และถ่าน
ชีวภาพในอัตราต่างๆกันไม่ทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์จะย่อยสลายได้เร็วใน
สภาพเขตร้อน สำหรับถ่านชีวภาพซึ่งมีปริมาณคาร์บอนสูงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่อยู่ในรูปที่ย่อยสลายยาก
มาก จึงไม่เห็นปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น และวิธีการวัดปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยใช้กรดเข้มข้น ไม่
สามารถย่อยสลายอินทรีย์คาร์บอนในถ่านชีวภาพได้ ซึ่งต้องใช้วิธีเผาด้วยความร้อนสูงมากด้วยเครื่องวิเคราะห์
อินทรีย์คาร์บอน
ตารางที่ 5 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซ็นต์) หลังปลูก 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว
ตำรับการทดลอง 1 เดือน เก็บเกี่ยว ผลต่าง
1 แปลงควบคุม 1.83 1.60 -0.23
2 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่ 1.97 1.77 -0.20
3 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่ 2.03 1.80 -0.23
4 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 250 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 750 กก./ไร่ 1.87 1.57 -0.30
5 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่ 1.93 1.83 -0.10
6 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 750 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 250 กก./ไร่ 1.93 1.80 -0.13
7 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่ 1.83 1.67 -0.16
8 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตัน/ไร่ 1.90 1.73 -0.17
F-test (ตำรับการทดลอง) ns ns -
F-test (ซ้ำ) ns ns -
C.V. (%) 12.30 13.20 -
หมายเหตุ: ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
กก./ไร่ หมายถึง กิโลกรัมต่อไร่