Page 19 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          12




                         ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน จากผลวิเคราะห์ดินหลังปลูก 1 เดือน พบว่าปริมาณโพแทสเซียม
                  ที่สกัดได้ในดิน ในแปลงควบคุม ตำรับการทดลองถ่านชีวภาพ และตำรับการทดลองปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับถ่าน

                  ชีวภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตำรับการทดลองปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว และหลังเก็บ
                  เกี่ยวปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ในแปลงควบคุมมีค่า

                  ต่ำ ตำรับการทดลองปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับถ่านชีวภาพ ตำรับการทดลองถ่านชีวภาพ มีค่าปานกลาง และตำรับการ

                  ทดลองปุ๋ยอินทรีย์มีค่ามากที่สุด แสดงให้ว่าปุ๋ยอินทรีย์สามารถเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในดินได้ดีกว่าถ่าน
                  ชีวภาพ และโดยเฉลี่ยในช่วงหลังปลูก 1 เดือน ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินมีค่าต่ำ (30-60 มก/กก) ถึง

                  ปานกลาง (60-90 มก/กก) แต่หลังเก็บเกี่ยวปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินมีค่าต่ำมาก (<30 มก/กก)

                  แสดงว่าฟ้าทะลายโจรได้ใช้โพแทสเซียมในปริมาณมากในการเจริญเติบโต (ตารางที่ 7) เช่นเดียวกับ สายน้ำ
                  และคณะ (2559) ทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชุดดินวังสะพุง ใช้ถ่านชีวภาพอัตราต่างๆ ก็ทำให้ปริมาณ

                  โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินมีปริมาณลดลงเช่นกัน แต่จากการศึกษาของนวลจันทร์และคณะ (2560) พบว่า

                  ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ถ่านชีวภาพจากแกลบร่วมกับมูลสุกรใน
                  ปริมาณมากถึง 1,500 กิโลกรัม/ไร่


                  ตารางที่ 7 ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน (มก./กก.) หลังปลูก 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว

                                          ตำรับการทดลอง                          1 เดือน    เก็บเกี่ยว   ผลต่าง

                   1 แปลงควบคุม                                                  33.00a      7.67a     -25.33
                   2 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่                              58.33ab  14.00b       -44.33

                   3 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่                                84.33b     21.00c     -63.33

                   4 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 250 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 750 กก./ไร่   52.33a  12.00ab   -40.33
                   5 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่   56.67ab  13.33ab   -43.33

                   6 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 750 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 250 กก./ไร่   42.67a  11.33ab   -31.34

                   7 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่                                42.67a     9.33ab     -33.34

                   8 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตัน/ไร่                                  42.00a  12.00ab       -30.00
                                                     F-test (ตำรับการทดลอง)         *         **          -

                                            F-test (ซ้ำ)                           ns         ns          -

                                             C.V. (%)                             30.01      23.80        -
                  หมายเหตุ: * หมายถึง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %

                           ** หมายถึง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 %

                           ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
                           มก./กก. หมายถึง มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม       กก./ไร่ หมายถึง กิโลกรัมต่อไร่
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24