Page 12 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ภาพจาก : http://www.samunpri.com/ขมิ้นชัน/
ดอกออกเป็ นช่อดอกแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ ลักษณะ
ทรงกระบอก กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือขาว โดยเชื่อมติดกันเป็นท่อยาวมีปลายแยกเป็น 3 ส่วน
เกสรตัวผู้คล้ายกลีบดอก มีขน อับเรณูอยู่ส่วนปลาย ท่อเกสรตัวเมียมีขนาดเล็กยาว ยอดเกสรตัวเมีย
คล้ายรูปปากแตร บานครั้งละ 3-4 ดอก รังไข่มี 3 ช่องแต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ ผลรูปกลมมี 3 พู
ภาพจาก : http://www.puechkaset.com/ขมิ้นชัน/2
2.1.2 แหล่งปลูกที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 20 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 – 80
เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่สูงจากระดับนํ้าทะเล 450 – 900 เมตร พื้นที่ราบไม่มีนํ้าท่วมขัง เจริญเติบโตได้
ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายนํ้าดี หน้าดินที่เหมาะลึก 30 เซนติเมตร และมีความ
ร่วนซุย ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ที่ความเหมาะสมอยู่ในช่วง 5 -7 ค่าการนําไฟฟ้ าของดิน
(EC) ไม่สูงกว่า 2 ds/m ปริมาณนํ้าฝนที่เหมาะสม คือ 1,000 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน