Page 8 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           1-2





                  1.3 ขอบเขตดําเนินงาน


                         1.3.1 ระยะเวลาดําเนินการ จํานวน 7  เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 กันยายน 2560
                         1.3.2 ขอบเขตที่ศึกษา ประเมินเฉพาะด้านผลผลิต โดยไม่ได้คํานึงถึงปริมาณสารสําคัญ

                  ทางด้านการแพทย์ และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่ได้พิจารณาถึงการผลิตในรูปแบบเกษตรอินทรีย์

                         1.3.3 พืชสมุนไพรที่ศึกษา จํานวน 4 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก


                  1.4 ขั้นตอนและวิธีดําเนินงาน

                         แสดงขั้นตอนและวิธีดําเนินงานได้ดังนี้ (รูปที่ 1-1)

                         1.4.1 ศึกษาข้อมูลด้านความต้องการด้านพืช และปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

                  สมุนไพร ตลอดจนแนวทางการผลิตเพื่อใช้ในทางการแพทย์

                         1.4.2 รวบรวมข้อมูลทั่วไป

                             1) ข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ได้แก่ ข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ สภาพ
                  ภูมิอากาศ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรนํ้า ทรัพยากรป่ าไม้ สภาพการใช้ที่ดิน ตลอดจนนโยบายของ

                  รัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

                              2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลแผนที่สภาพภูมิประเทศ ขอบเขตการปกครอง แผนที่

                  กลุ่มชุดดิน และแผนที่การใช้ที่ดิน
                         1.4.3 นําเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และอรรถาธิบายและวิเคราะห์ โดยโปรแกรมสําเร็จรูปและ

                  โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)
                         1.4.4 ประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับสมุนไพร 4 ชนิด (Qualitative     land

                  evaluation) ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

                              1) ศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพที่ดิน (Land quality) ของประเทศไทย

                              2) กําหนดหลักเกณฑ์การเลือกคุณภาพที่ดินที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของ
                  ที่ดิน

                              3) กําหนดคุณภาพของที่ดินที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน

                              4) วิเคราะห์และกําหนดความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use

                  requirements)
                              5) วิเคราะห์และจําแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (Land suitability classification)

                         1.4.5 จัดทําแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร 4 ชนิด

                         1.4.6 จัดทํารายงานแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร 4 ชนิด





                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13