Page 13 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-3





                         2.1.3 ประโยชน์และสรรพคุณ

                          รักษาโรคกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้ อ ขับลม

                  รักษาอาการแพ้อักเสบจากผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ฝี แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และแผลพุพอง

                  ช่วยการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลใน
                  ร่างกาย บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยขับนํ้านมของมารดาหลังคลอดบุตร บํารุงสมองป้ องกัน

                  โรคความจําเสื่อม และเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องสําอางบํารุงผิวต่าง ๆ

                      2.1.4 สารธรรมชาติออกฤทธิ์

                          1.  องค์ประกอบหลักทางเคมีที่พบในขมิ้นชันเป็ นสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์
                  (Curcuminoids) โดยมีองค์ประกอบหลักเป็น Curcumin  และสารอนุพันธ์ของ Curcumin  ได้แก่

                  Demethoxycurcumin  และ Bisdemethoxycurcumin มีฤทธิ์ในการขับลมและบรรเทาอาการท้องอืด

                  ท้องเฟ้ อ ลดการอักเสบ และยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยกระตุ้นการหลั่งสารเมือก
                  (Mucin) มาเคลือบกระเพาะและยับยั้งการหลั่งนํ้าย่อยต่าง ๆ

                          2.  นํ้ามันหอมระเหย (Volatile oil) มีสีเหลืองอ่อนจากขมิ้นชัน มีองค์ประกอบหลักเป็น

                  สารประกอบกลุ่มโมโนเทอร์ปีน (Monoterpenes) และเซสควิเทอร์ปีน (Sesquiterpenes) มีฤทธิ์ยับยั้ง
                  การเจริญของเชื้อจุลชีพหลายชนิด รวมถึงแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดหรือท้องเสียด้วย

                          3.  สารประกอบในกลุ่มโปรตีน ได้แก่ Turmerin มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นโดยมีผลป้ องกัน

                  การถูกทําลายของเยื่อบุเซลล์และดีเอ็นเอจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้





































                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18