Page 14 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-4





                  2.2 กระชายดํา

                         ชื่อวิทยาศาสตร์  0 Kaempferia parviflora


                         ชื่อวงษ์   Zingiberaceae


                         ชื่อสามัญ  Black ginger, Black galingale

                         ชื่อท้องถิ่น  ขิงทราย (มหาสารคาม) กะแอน ระแอน ว่านกําบัง ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง
                  (ภาคเหนือ)

                      2.2.1 ลักษณะทั่วไป

                          เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ากระชายดํานั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม

                  เป็นปุ่มปมเรียงต่อกันและมักมีขนาดเท่า ๆกัน ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม ไปจนถึง
                  สีดํา เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย


















                  ภาพจาก : http://www.thaicrudedrug.com

                         ใบเป็นใบเดี่ยวลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาว

                  ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องตลอดใบตามแนว

                  ของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลําต้นไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงตลอด
                  ความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก

















                  ภาพจาก : http://www.thaicrudedrug.com




                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19