Page 11 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                         บทที่ 2



                                                      ข้อมูลทั่วไป



                         ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งความต้องการในการบริโภค เพื่อการ

                  สร้างเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงความต้องการในการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของ
                  สมุนไพรต่างๆ ซึ่งในรายงานฉบับนี้ศึกษาสมุนไพรที่มีศักยภาพ ทั้งหมด 4 ชนิดพืช ได้แก่

                  2.1 ขมิ้นชัน


                         ชื่อวิทยาศาสตร์     Curcuma longa Linn.

                         ชื่อวงษ์    Zingiberaceae

                         ชื่อสามัญ  Turmeric

                         ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น ขมิ้นชัน (ภาคกลาง) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น

                  (ภาคใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กําแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

                        2.1.1 ลักษณะทั่วไป

                          ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-95 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มี
                  แขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้านตรงกันข้าม เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองส้มหรือเหลืองจําปา

                  ปนแสด มีกลิ่นฉุน





















                  ภาพจาก : http://www.samunpri.com/ขมิ้นชัน/2



                                ใบเดี่ยวมีสีเขียวอ่อนหรือขาว กลางใบมีสีแดงคลํ้า แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกัน
                  รูปใบหอก กว้าง 12-15 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร





                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16