Page 17 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-7
ดอกมีลักษณะรูปไข่หรือยาวรีแทงจากเหง้าใต้ดิน ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 7-15
เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร ใบประดับจํานวนมากเรียงตัวเป็นระเบียบซ้อนกันแน่น
คล้ายเกล็ดปลา ใบประดับมีสีแดงอมม่วง ขอบสีเขียว รูปเหมือนกลีบดอกบัว ข้างในใบประดับมีดอก
ย่อย 1 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งรูปทรงกลม
ขนาดเล็ก เมล็ดรูปไข่กลม ผิวเป็นมันสีดํา มีจํานวนมาก ลําต้นจะเหี่ยวแห้งในฤดูแล้ง และจะผลิต้น
ใหม่ในฤดูฝน
ภาพจาก : http://www.samunpri.com//ไพล2
2.3.2 แหล่งปลูกที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีร่มเงารําไร สภาพภูมิอากาศที่
เหมาะสม โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18 – 35 องศาเซลเซียส สภาพพื้นที่ไม่มีนํ้าท่วมขัง
เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวปนทราย มีการระบายนํ้าดี มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน เท่ากับ
5.5 – 6.5 หลีกเลี่ยงการปลูกในดินลูกรัง
2.3.3 ประโยชน์และสรรพคุณ
เหง้ามีรสฝาด ถ้าใช้ภายนอกโดยประคบหรือฝนทา ช่วยแก้ฟกชํ้า เคล็ดบวม แก้เหน็บชา
เส้นตึงอาการเมื่อย เป็นส่วนประกอบหลักในการทําลูกประคบ ช่วยสมานแผล แก้เล็บถอด ใช้อาบ
และประคบเพื่อให้เลือดลมไหลดีในสตรีหลังคลอด ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ ถ้าใช้ภายใน
ช่วยแก้อาการโรคบิด ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้ อ ขับลมในลําไส้ แก้จุกเสียด ขับระดูและขับโลหิตเสีย
มีฤทธิ์ขยายหลอดลม และรักษาอาการหอบหืด
2.3.4 สารธรรมชาติออกฤทธิ์
1) องค์ประกอบหลักในนํ้ามันหอมระเหย (Volatile oil) ที่ได้จากเหง้า ส่วนใหญ่เป็น
อนุพันธ์เทอร์ปีนอยด์ (Terpinoids) โดยออกฤทธิ์ต่อร่างกายใน 3 วิธีคือ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
กระตุ้นการหลั่งสารเคมี และออกฤทธิ์ทางจิตใจ โดยนําไปใช้ในด้านต่าง ๆเช่น เครื่องสําอาง การนวด
และการสูดดมกลิ่น
2) องค์ประกอบหลักในส่วนเหง้าคือ อนุพันธ์เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) และ
สารประกอบเฟนิลบิวทานอยด์ (Phenylbutenoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และช่วยขยายหลอดลม
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน