Page 15 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-5





                         ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร

                  กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอดยาวประมาณ 3-3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็น

                  หมันมีสีขาว















                  ภาพจาก : http://www.thaicrudedrug.com

                        2.2.2 แหล่งปลูกที่เหมาะสม
                             พื้นที่สูงจากระดับนํ้าทะเล ตั้งแต่ 500 – 700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วน

                  ปนทราย มีการระบายนํ้าดี ไม่ชอบนํ้าขัง ไม่ชอบแดดจัด สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม อุณหภูมิ

                  ประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 60 – 80 เปอร์เซ็นต์

                        2.2.3 ประโยชน์และสรรพคุณ
                          เป็นยาอายุวัฒนะช่วยชะลอความแก่ ยาบํารุงกําลังช่วยบํารุงธาตุต่าง ๆในร่างกาย บํารุง

                  ผิวพรรณของสตรี บํารุงฮอร์โมนเพศชาย หากสตรีรับประทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน

                  ทางเพศ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้กามตายด้าน กระตุ้นระบบประสาท บํารุงประสาท ทําให้

                  ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยในการนอนหลับง่าย บํารุงหัวใจโดยช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ บํารุง
                  โลหิตของสตรี ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับลมแก้อาการจุก

                  เสียด แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด และท้องเฟ้อ

                      2.2.4 สารธรรมชาติออกฤทธิ์
                          ในเหง้ากระชายดําประกอบด้วยสาระสําคัญต่าง ๆได้แก่ นํ้ามันหอมระเหย สารกลุ่มฟลา

                  โวนอยด์ (Flavonoids) กลุ่มแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic

                  compounds) ส่วนใหญ่พันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้มจะมีปริมาณสารฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่า
                  พันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจางจะมีปริมาณนํ้ามันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มี

                  เนื้อในเหง้าสีเข้ม ซึ่งสารประกอบฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ทาง

                  เภสัชวิทยาต้านความเหนื่อยล้า การเกิดอนุมูลอิสระ และการอักเสบ โดยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์

                  ยับยั้งเอนไซน์ Phosphodiesterase ทําให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวและขยาย เลือดจึงไหลเวียนเข้า
                  สู่อวัยวะต่างๆได้ดี




                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20