Page 66 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     56




                                 2.3.2.5 กำรประเมินค่ำปัจจัยกำรปฏิบัติป้องกันกำรชะล้ำงพังทลำยของดิน
                                        ค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (Conservation Practice

               factor, P-factor) เป็นปัจจัยแสดงสมรรถนะในการควบคุมการชะล้างพังทลายของดินที่ได้จากอัตราส่วนของ
               ปริมาณการสูญเสียดินที่ได้จากแปลงทดลองที่มีการใช้วิธีการอนุรักษ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง กับปริมาณ
               การสูญเสียดินจากแปลงทดลองที่ไถพรวนดินขึ้นลงตามความลาดชัน ในสภาพการณ์ที่เหมือนกัน
                                       การปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน แบ่งออกเป็น 4 มาตรการส าคัญ ได้แก่
                                        1) การท าการเกษตรตามแนวระดับ (contouring) รวมถึงวิธีการไถพรวน และ
               การปลูกพืช
                                        2) การควบคุมแนวการปลูกพืชและปรับพื้นที่เป็นคันดินเป็นการท าแนวระดับ
               ที่แน่นอนและปรับพื้นที่ลาดชันให้สม่ าเสมอและมีแนวการเบนน้ าออกไปจากพื้นที่ โดยคันและคูระบายน้ าไม่ให้ขัง
               อยู่ในพื้นที่รวมถึงการใช้เศษวัสดุของพืชในปริมาณสูงไว้ในพื้นที่เป็นแถวตามแนวระดับ

                                        3) การปลูกพืชสลับตามแนวระดับ (contour strip cropping) เป็นการปลูกพืช
               สลับเป็นแนว โดยมีความกว้างของแต่ละแถวเท่าๆ กันและพืชที่ปลูกสลับจะครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
                                        4) การท าขั้นบันได (terracing)

                                     วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                                        1) เตรียมข้อมูลพื้นฐาน
                                         (1) แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน (ระดับ 3) ปี พ.ศ. 2561-2562 มาตราส่วน 1:25,000
               จากกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ GIS

                                         (2) ค่า P  ซึ่งก าหนดค่าตามผลการศึกษาของนักวิชาการต่างประเทศ ตามตาราง
               ภาคผนวกที่ 2
                                        2) ก าหนดค่า P
                                         (1) พื้นที่นาข้าว จะมีการท าคันนาซึ่งถือว่าเป็นระบบการท าคันดิน ในระบบการ
               อนุรักษ์แบบหนึ่งให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.1
                                         (2) ระบบการอนุรักษ์แบบอื่นในประเทศไทยยังมีน้อยมากไม่สามารถแสดงได้ใน
               แผนที่ระดับภาคและระดับประเทศได้  จึงถือว่าพื้นที่เหล่านั้นไม่มีระบบการอนุรักษ์ และก าหนดค่าตามกลุ่ม
               ประเภทการใช้ที่ดิน รายละเอียดตามตารางภาคผนวกที่ 2
                                        3) แทนค่า P ตามกลุ่มประเภทการใช้ที่ดิน ได้ผลเป็นแผนที่ ดังแสดงในภาพที่ 2.8
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71