Page 71 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        61




                                   แผนที่การชะล้างพังทลายของดิน ประกอบด้วย  หน่วยแผนที่ 10 หน่วย ของพื้นที่ราบและ
                   พื้นที่สูงรวมกัน มีค าอธิบาย  ดังนี้


                    พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขา ความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                    1 :       ระดับน้อยมาก     มีการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ไม่จ าเป็นต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                                           เป็นพิเศษ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและใช้ประโยชน์ในการท านา ปลูกพืชไร่
                                           ไม้ผล และไม้ยืนต้น
                    2 :       ระดับน้อย     มีการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ควรจะมีการใช้ที่ดินอย่างระมัดระวัง โดย
                                           การปลูกพืชตามแนวระดับหรือขวางความลาดเท และมีการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อการ
                                           ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืน พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการปลูก
                                           พืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และสวนป่า
                    3 :     ระดับปานกลาง    มีการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งมีผลท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงและ
                                           ผลผลิตต่ า จึงควรมีมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินทั้งวิธีพืชและวิธีกล
                                           เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตให้คงอยู่ตลอดไป พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้
                                           ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้นและสวนป่า
                    4 :    ระดับรุนแรง     มีการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้หากจะใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร
                                           จ าเป็นต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการรักษาทรัพยากร
                                           ดินเอาไว้ พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่มีความลาดเทสูงและเป็นการใช้ประโยชน์ในการปลูก
                                           พืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และสวนป่า
                    5 :     ระดับรุนแรงมาก    มีการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้มักมีปรากฎการณ์ชะล้างพังทลาย
                                           แบบมีร่องลึก (gully) โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมส าหรับการท าการเกษตรอย่าง
                                           ถาวร ควรกันไว้เป็นพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือป่า
                    พื้นที่สูง (ภูเขาและที่ลาดหุบเขา ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                    1H :   ระดับน้อยมาก     มีการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันที่ยังคงสภาพ
                                           เป็นป่าไม้ธรรมชาติ จึงควรมีมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้เพื่อป้องกันไม่ให้การชะล้าง
                                           พังทลายของดินเกิดขึ้น
                    2H :   ระดับน้อย       มีการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันที่ยังคงสภาพ
                                           เป็นป่าไม้ธรรมชาติ จึงควรมีมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้เพื่อควบคุมไม่ให้การชะล้าง
                                           พังทลายของดินเพิ่มมากขึ้นกว่านี้
                    3H :   ระดับปานกลาง    มีการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันใช้ประโยชน์
                                           ในการปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และป่าเสื่อมโทรม  จึงควรมีมาตรการการ
                                           อนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเคร่งครัดเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลง
                    4H :   ระดับรุนแรง     มีการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันใช้
                                           ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และป่าเสื่อมโทรม จึงควรมี
                                           มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อลดการ
                                           ชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลง
                    5H :   ระดับรุนแรงมาก    มีการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน
                                           ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ และพืชสวน จึงควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                                           อย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเร่งด่วน เพื่อควบคุมการ ชะล้าง
                                           พังทลายของดินไม่ให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76