Page 68 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 68

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     58







                                 ค านวณค่าการสูญเสียดินตามสมการด้วย 6 ปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น น ามาใช้ค านวณค่า
               ปริมาณการสูญเสียดิน โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ช่วยในการจัดการข้อมูล และจัดท าแผนที่ตาม
               แบบจ าลองคณิตศาสตร์ของสมการการสูญเสียดินสากล (USLE) บนฐานข้อมูลแบบราสเตอร์ (raster) ก าหนด
               ขนาดความละเอียดจุดภาพ (grid cell หรือ pixel) ส าหรับเก็บข้อมูลเท่ากับ 30 x 30 เมตร มีขั้นตอน
               การวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้
                                 1) น าเข้าข้อมูลทั้ง 6 ปัจจัยเข้าสู่ระบบโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์

                                 2) ตัดแบ่งข้อมูลทุกปัจจัยออกเป็นรายภาค โดยใช้ค าสั่ง extract by mask
                                 3) ค านวณแผนที่รายภาคโดยน าชั้นข้อมูล R, K, LS, C และ P มาคูณกัน และหารด้วย 6.25
               (1 เฮกแตร์= 6.25 ไร่) โดยใช้ค าสั่ง raster calculator ผลที่ได้ คือ ปริมาณการสูญเสียดิน หน่วยเป็นตันต่อไร่ต่อปี
               เรียกชั้นข้อมูลชุดนี้ว่า SEM
                               4) ตรวจสอบความถูกต้องของค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล



                                 การสูญเสียดินจะส่งผลกระทบรุนแรงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่

               หากกระบวนการเกิดดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว และดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แม้จะมีอัตราการสูญเสีย
               ดินสูงก็อาจไม่มีผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน ในทางตรงกันข้าม หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าและกระบวนการเกิด
               ดินเป็นไปอย่างช้าๆ แม้มีการสูญเสียดินเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบเสียหายรุนแรงต่อการใช้ประโยชน์บน
               ที่ดินนั้น ค่าการสูญเสียดินเมื่อน ามาเปรียบเทียบกับลักษณะตามธรรมชาติของดินย่อมสามารถวิเคราะห์ความ
               เสียหายจากการชะล้างพังทลายของดินได้
                                 ค่าการสูญเสียดินที่ค านวณได้จากสมการการสูญเสียดินสากล จะถูกน ามาจัดชั้นความรุนแรง
               ของการสูญเสียดิน และแสดงผลออกมาเป็นแผนที่การชะล้างพังทลายของดิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง
               ขอบเขตของพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลาย และระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ
               ของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ าที่มีประสิทธิภาพต่อไป

                      การจัดชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน ยึดถือตามแนวคิด ดังนี้
                      1)  ค่าการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับพื้นที่เกษตร คือ ระดับที่ยังคงได้รับผลผลิตพืช และมี
                           ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (USDA, 1997)
                      2)  ดินมีความเหมาะสมส าหรับการใช้ประโยชน์มาก เมื่อการใช้ประโยชน์นั้นมีความยั่งยืนนาน 25 ปี

                           หรือมากกว่าขึ้นไป (FAO, 1997)
                      3)  คู่มือการส ารวจดิน (Soil Survey Manual) แนะน าให้จ าแนกการชะล้างพังทลายของดินส าหรับ
                           พื้นที่เกษตรกรรม เป็น 4 ระดับ โดยพิจารณาจากอัตราการสูญเสียดินชั้นบนที่เรียกว่าชั้น A และ
                           E horizon (USDA, 1993)
                           ชั้น  1  :  การสูญเสียดินค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์  ของความหนาของชั้น A/E เดิม (หรือ
                                     ของความหนา 20 เซนติเมตร ถ้า A/E หนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร) สภาพพื้นที่ส่วน
                                     ใหญ่ไม่มีการชะล้างพังทลายหรือมีการชะล้างพังทลายน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของ
                                     พื้นที่

                           ชั้น  2  :  การสูญเสียดินเป็นค่าเฉลี่ย 25-75 เปอร์เซ็นต์  ของความหนาของชั้น A/E  (หรือของ
                                     ความหนา 20 เซนติเมตร ถ้า A/E หนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร) พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73