Page 64 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     54




                                 2.3.2.4 กำรประเมินค่ำปัจจัยกำรจัดกำรพืช
                                         ค่าปัจจัยการจัดการพืช  (crop management factor, C - factor) เป็นดัชนีที่ได้จาก

               อัตราส่วนของปริมาณการสูญเสียดินจากแปลงทดลองที่มีการปลูกพืชและการจัดการพืชชนิดใดชนิดหนึ่งกับ
               ปริมาณการสูญเสียดินที่ถูกชะล้างมาจากแปลงทดลองที่ปล่อยให้ว่างเปล่า และไถพรวนขึ้นลงตามแนวความลาดเท
               ค่าปัจจัยการจัดการพืชเป็นค่าที่สะท้อนถึงความส าคัญ  ดังนี้
                                        1) ประสิทธิภาพของพืช คือ พื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณสามารถป้องกันและ
               ลดความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินได้ พืชแต่ละชนิดมีความสามารถสกัดกั้นการตกกระแทกของฝนได้
               แตกต่างกัน และช่วงเวลาในการเจริญเติบโตหรืออายุของพืชมีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน
                                        2) ลักษณะการปกคลุมเรือนยอดของพืชแต่ละชนิด มีความสามารถปกคลุมพื้นที่ผิวดิน
               ได้มากน้อยเพียงใด ร่วมกับพืชพรรณที่ขึ้นอยู่เหนือผิวดินและเศษซากเหลือของพืช
                                        3) วิธีการปฏิบัติในการปลูกพืชหรือระบบการปลูกพืช โดยค่าปัจจัยการจัดการพืช ใน

               สมการการสูญเสียดินสากลที่ถูกต้องนั้นจะต้องได้จากการทดลองตามธรรมชาติ ซึ่งปล่อยให้พืชพรรณเจริญเติบโต
               ไปตามขั้นตอนและพฤติกรรมตามธรรมชาติของฝนที่ตกตลอดจนกรรมวิธีในการปลูกพืชแต่ละแห่ง เนื่องจาก
               ข้อมูลจากการทดลองด้านนี้ ในประเทศไทยยังมีไม่มากและผลการทดลองไม่แน่ชัด จึงจ าเป็นต้องอาศัยผลการ
               ทดลองจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยตามความเหมาะสม
                                     วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยการจัดการพืช
                                     1) เตรียมข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่
                                           (1) แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน (ระดับ 3) ปี พ.ศ. 2561-2562 มาตราส่วน 1:25,000
               จากกองนโยบายและแผนการให้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ GIS

                                            (2) ค่า C ที่ได้จากผลการศึกษาของนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
               ตามตารางภาคผนวกที่ 2
                                      2) ก าหนดค่า C
                                            (1) จ าแนกสภาพการใช้ที่ดินในระดับ 3 ให้เป็นกลุ่มประเภทการใช้ที่ดินตาราง
               ภาคผนวกที่ 2
                                           (2) ค านวณเนื้อที่ของแต่ละพืชโดยแบ่งออกเป็นรายภาค
                                             (3) หาค่า C ระดับกลุ่มประเภทการใช้ที่ดินจากเนื้อที่ของแต่ละชนิดพืชกับค่า C
               ของกลุ่มประเภทการใช้ที่ดิน
                                             (4) แทนค่า C ระดับกลุ่มประเภทการใช้ที่ดิน (ตารางภาคผนวกที่ 2) ลงในแผนที่

               สภาพการใช้ที่ดิน  แสดงผลลัพธ์ดังภาพที่ 2.7
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69