Page 70 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     60




               ตารางที่ 2.4 ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                    ระดับการชะล้างพังทลาย                    อัตราการชะล้างพังทลายของดิน

                                                     ตันต่อไร่ต่อปี             ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี
                1. น้อยมาก                           0.00 – 2.00                  0.00 - 12.5
                2. น้อย                              2.01 – 5.00                  12.50 - 31.25
                3. ปานกลาง                              5.01 – 15.00             31.25 - 93.75
                4. รุนแรง                           15.01 - 20.00                 93.75 - 125
                5. รุนแรงมาก                           >20.01                        >125

               ที่มา: ปรับปรุงจากกรมพัฒนาที่ดิน (2545)




                                การจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย ระดับภาคและระดับประเทศใช้วิธี
               การศึกษาค านวณปริมาณการสูญเสียดินจากสมการการสูญเสียดินสากล และพิจารณาจัดชั้นความรุนแรงของการ
               ชะล้างพังทลายของดินตามลักษณะของดินในประเทศไทย และมีการวิเคราะห์แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่
               ราบ และพื้นที่สูง

                                พื้นที่ราบ หมายถึง ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขา ความลาดชันน้อยกว่า 35
               เปอร์เซ็นต์ จ าแนกเป็นกลุ่มชุดดินที่ 1-61 ตามแผนที่กลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน
                                พื้นที่สูง  หมายถึง ภูเขาและที่ลาดหุบเขา ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จ าแนกเป็น
               กลุ่มชุดดินที่ 62 ตามแผนที่กลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน
                                เนื่องจากพื้นที่สูงมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินมาก หากมีการใช้
               ประโยชน์อย่างไม่ระมัดระวัง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดการชะล้างพังทลายแบบอื่นที่มีความเสียหายรุนแรงกว่า
               การสูญเสียดินตามหลักของสมการการสูญเสียดินสากล เช่น การชะล้างพังทลายแบบร่องลึก (gully) และการเกิด

               ดินถล่ม (landslide) เป็นต้น ในการจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินจึงได้พิจารณาแยกพื้นที่สูงออกจาก
               พื้นที่ราบเพื่อให้แผนที่ชุดนี้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนส าหรับน าไปใช้ในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ า ตลอดจน
               การวางแผนโครงการพัฒนาต่างๆ ในระดับภาคและระดับประเทศต่อไป
                                ทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่สูง ใช้วิธีค านวณปริมาณการสูญเสียดิน และหลักเกณฑ์การจัดชั้นความ
               รุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน เช่นเดียวกันดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ราบและ
               พื้นที่สูงในแผนที่แสดงให้เห็นด้วยสี คือ พื้นที่ราบเป็นสีเทา-ม่วง และพื้นที่สูงเป็นสีเหลือง-แดง และในพื้นที่สูงมี
               สัญลักษณ์ภาษาอังกฤษ H (Highland) ต่อท้ายตัวเลขชั้นความรุนแรง
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75