Page 61 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        51




                          22.13  คือ  ความยาวของแปลงทดลองมาตรฐาน (เมตร)
                               m  คือ  ตัวเลขยกก าลังซึ่งผันแปรตามความลาดชัน มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนระหว่างการชะล้าง

                                       พังทลายแบบริ้ว (rill erosion) ที่เกิดจากการกระท าของน้ าไหลบ่า กับการชะล้างพังทลาย
                                     ระหว่างริ้ว (interrill erosion) ที่เกิดจากการกระท าของเม็ดฝนบนพื้นที่ลาดชันสูง ค่า m
                                     จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการชะล้างพังทลายแบบริ้วมีมากกว่าการชะล้างพังทลายแบบระหว่างริ้ว
                                     ในทางกลับกันในพื้นที่ลาดชันน้อย ค่า m จะลดลงเนื่องจากการชะล้างพังทลายแบบริ้ว
                                     มีน้อยกว่าการชะล้างพังทลายแบบระหว่างริ้ว
                              การค านวณค่า L ส าหรับพื้นที่ลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ ก าหนดใช้ค่า m ที่แนะน าโดย Wischmeier
                   et al. (1978) พื้นที่ลาดชัน 5-21 เปอร์เซ็นต์ ใช้ค่าแนะน าโดย McCool et al. (1987) และพื้นที่ลาดชันมากกว่า
                   21 เปอร์เซ็นต์ ใช้ค่าแนะน าโดย Toxopeus (ITC, 1997) ดังนี้
                                                       0.2
                                       L  =  (   / 22.13 )      ส าหรับพื้นที่ลาดชัน  0 – 1.0 %
                                                       0.3
                                       L  =  (   / 22.13 )      ส าหรับพื้นที่ลาดชัน  1.1 – 3.0 %
                                                       0.4
                                       L  =  (   / 22.13 )      ส าหรับพื้นที่ลาดชัน  3.1 – 5.0 %
                                                       0.5
                                       L  =  (   / 22.13 )      ส าหรับพื้นที่ลาดชัน  5.1 – 21.0 %
                                                       0.7
                                       L  =  (   / 22.13 )      ส าหรับพื้นที่ลาดชันมากกว่า  21.0 %

                              ปัจจัยควำมชัน (S - factor)
                               ค่าปัจจัยความชัน คือตัวเลขแสดงสัดส่วนของการสูญเสียดินต่อหน่วยความชัน เป็นความสัมพันธ์
                   ระหว่างความชันต่อการชะล้างพังทลายแบบแผ่น (sheet erosion) และการชะล้างพังทลายแบบริ้ว (rill
                   erosion) ไม่นับรวมถึงการชะล้างพังทลายแบบอื่น McCool และคณะ (USDA, 1997) อธิบายว่า ความชันของ
                   พื้นที่สามารถตรวจวัดได้ในสนามด้วยเครื่องมืดวัดความลาดเอียง เช่น เครื่อง Abney ส่วนข้อมูลแผนที่เส้นความ
                   สูงเท่า (contour) ที่มีเส้นความสูงห่างชั้นละ 2 ฟุต สามารถใช้ค านวณค่าความชันได้หากกระท าอย่างรอบคอบ
                   การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความชันกับการสูญเสียดินในแปลงทดลอง ท าให้สามารถพัฒนาสมการ

                   คณิตศาสตร์เพื่อค านวณค่าปัจจัยความชัน ส าหรับใช้ในสมการการสูญเสียดินสากลได้
                                สมการที่ใช้ค านวณค่าปัจจัยความชัน ส าหรับพื้นที่ลาดชัน 0 - 9 เปอร์เซ็นต์ ใช้สมการ Wischmeier
                   and Smith (1978) และพื้นที่ลาดชัน 0-9 เปอร์เซ็นต์ ใช้สมการแนะน าโดย Meijerink (Huizing, 1992) ดังนี้

                                                       2
                                                                       2
                                    S  =         0.065 s +0.045 s+0.065 s                              (2.6)
                                                                    0.75
                                    S  =         6.4 sin { atan(s/100) }  ) (cos { atan(s/100) } )           (2.7)
                              เมื่อ  S  คือ ค่าปัจจัยความชัน
                                   s  คือ เปอร์เซ็นต์ความชัน


                              วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (LS - factor)
                               1) การเตรียมข้อมูลพื้นฐาน
                                 (1) แบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข (digital elevation model, DEM) มาตราส่วน 1:4,000 ซึ่ง
                   เป็นผลผลิตจากโครงการจัดท าแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและ
                   สหกรณ์ ปี พ.ศ. 2545 โดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้ดูแลข้อมูล
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66