Page 69 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        59




                                        ยังมีชั้น A/E เหลืออยู่แต่ถูกไถปนกับดินล่างไปแล้ว บริเวณที่ชั้น A/E ลึก จะยังคงเห็น
                                        ได้ชัดเจน

                              ชั้น  3  :  การสูญเสียดินชั้นบนมากกว่า  75 เปอร์เซ็นต์  ของความหนาชั้น A/E เดิม (หรือของ
                                        ความหนา 20 เซนติเมตร ถ้า A/E หนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร) พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่
                                        มีดินล่างใต้ชั้น A/E โผล่ขึ้นมา บริเวณที่ชั้น A/E ลึก อาจมีดินบนเหลืออยู่บ้างแต่ถูกไถ
                                        ปนกับดินชั้นล่างไปแล้ว
                              ชั้น  4  :  ทั่วพื้นที่มีการสูญเสียดินทั้งหมดของชั้น A/E (หรือดินบน 20 เซนติเมตร ถ้าชั้น A/E
                                        หนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร) พบเห็นร่องลึก (gully) จ านวนมาก
                          4)  การส ารวจลักษณะหน้าตัดและความลึกของชั้น A/E ของชุดดินต่างๆ ในประเทศไทย โดย
                              กรมพัฒนาที่ดิน พบว่าดินในประเทศไทยในสภาพปกคลุมด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีความหนา
                              เฉลี่ยของชั้น A/E อยู่ที่ 24 เซนติเมตร

                          5)  การวิเคราะห์ความหนาแน่นรวม (bulk density) ของชุดดินต่างๆ ในประเทศไทย โดยกรมพัฒนาที่ดิน
                              พบว่า ดินในสภาพธรรมชาติมีค่าความหนาแน่นรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
                          6)  ผลการศึกษาการสูญเสียดินในแปลงทดลองในชุดดินต่างๆ ของกรมพัฒนาที่ดิน

                              จากข้อพิจารณาทั้งหมดข้างต้นสามารถก าหนดปริมาณการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับดิน
                   ในประเทศไทยเป็น 2 ตันต่อไร่ต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 0.96 มิลลิเมตรต่อปี การสูญเสียในระดับนี้ จะไม่ท าให้
                   สมรรถนะของดินส าหรับการเกษตรเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 25 ปี ค่าการสูญเสียดินที่สูงกว่าระดับนี้จะมี
                   ผลเสียหายต่อคุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาว ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และจ าเป็นต้องมีการอนุรักษ์

                   ดินและน้ าที่เหมาะสม
                              การจัดชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน จ าแนกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
                              ชั้น 1 น้อยมาก (very slight) : อัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี (0-0.96 มิลลิเมตรต่อปี)
                              ชั้น 2 น้อย (slight) : อัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี (0.96-2.4 มิลลิเมตรต่อปี)
                                    ชั้นนี้การชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นเป็นพื้นที่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
                              ชั้น 3 ปานกลาง (moderate) : อัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี (2.4-7.2 มิลลิเมตรต่อ
                                    ปี) การชะล้างพังทลายมีผลท าให้ความต้องการในการจัดการดินผิดไปจากเดิม หรือต้อง
                                    เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ดินยังมีขีดความสามารถใช้ปลูกพืชได้เหมือนเดิม
                              ชั้น 4 รุนแรง (severe) : อัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี (7.2-9.6 มิลลิเมตรต่อปี) การ

                                    ชะล้างพังทลายท าให้ขีดความสามารถของดินส าหรับปลูกพืชเปลี่ยนเลวลงกว่าเดิม เช่น
                                    ดินไม่สามารถใช้ปลูกข้าวโพดได้อีกต่อไป ต้องเปลี่ยนไปท าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์แทน และต้อง
                                         เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการดินสูงมากเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ หรือใช้เวลานานมากในการ
                                      ปรับปรุงคุณภาพดินให้ใช้ปลูกพืชได้เช่นเดิม
                              ชั้น 5  รุนแรงมาก (very severe) : อัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี (มากกว่า 9.6
                                     มิลลิเมตรต่อปี) มีการชะล้างพังทลายเป็นร่องลึก (gully) เกิดขึ้นทั่วไป

                                 จากการเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของอัตราการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย

                   ซึ่งอ้างอิงระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2545 โดยปรับปรุงอัตรา
                   การชะล้างพังทลายของดิน ดังแสดงในตารางที่ 2.4
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74