Page 25 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        15


                   ที่แตกต่างกัน  แม้จะถูกชะล้างและเคลื่อนย้ายด้วยแรงปะทะของน้ าในดินและน้ าไหลบ่าหน้าดินในอัตราและ
                   ปริมาณเดียวกันบนความลาดชันและการมีสิ่งปกคลุมดินใกล้เคียงกัน  (นิพนธ์ 2527) ดินที่มีโครงสร้างจับตัวกัน
                   แบบหลวมๆ รูปร่างของเม็ดดินค่อนข้างกลม ถ้าเชื่อมหรือยึดเกาะด้วยอนุภาคเนื้อดินที่ละเอียด และจับตัว
                   คลุกเคล้ากันเป็นกลุ่มก้อน มักมีความสามารถในการดูดซับน้ าในดินได้ดีพอสมควร  ดินนี้จะสามารถต้านทานต่อ

                   การเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ดี และมีโอกาสที่เกิดน้ าไหลบ่าหน้าดินน้อยและอัตราการไหลต่ า
                            4) สิ่งปกคลุมของผิวดิน  กำรใช้ที่ดิน และกำรจัดกำรดิน
                                สิ่งปกคลุมดิน (soil cover) การที่ผิวหน้าดินมีพืชหรือเศษวัสดุของพืชปกคลุมอยู่ จะมีผลโดยตรง
                   ต่อการลดแรงปะทะของเม็ดฝน ลดการแตกกระจายของดิน และการไหลบ่าของน้ าบนผิวดินท าให้การชะล้าง
                   พังทลายของดินลดลง
                                การใช้ที่ดิน (land use) การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมตามสมรรถนะของดิน การปลูกพืช
                   ปกคลุมหน้าดิน การเลือกชนิดพืชที่ปลูก มีผลท าให้การชะล้างพังทลายและการสูญเสียดินลดลงได้
                                การจัดการดิน (soil management) ได้แก่ การไถพรวน โดยทั่วไปท าให้เพิ่มการชะล้างพังทลาย
                   ของดิน หากมีการไถพรวนด้วยวิธีการที่เหมาะสมจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินได้  การปลูกพืชมีผลต่อ

                   การชะล้างพังทลายของดินขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก วิธีการปลูก จ านวนพืชต่อเนื้อที่ ระยะระหว่างต้นและ
                   ระหว่างแถว และทิศทางของแถวกับความลาดเท หากมีการปลูกพืชที่หนาแน่นและปลูกตามแนวระดับหรือ
                   ขั้นบันไดจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินได้อย่างมาก
                            5) กิจกรรมของมนุษย์
                                มนุษย์เป็นปัจจัยเร่งที่เกี่ยวข้องที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินมากกว่าที่ควรเป็นตาม
                   ธรรมชาติ เรียกว่า การชะล้างพังทลายของดินที่มีตัวเร่ง (accerlerated erosion) เช่น การแผ้วถางป่า การท า
                   ถนน การเกษตรกรรม การท าไร่เลื่อนลอย การก่อสร้างต่างๆ และการใช้ที่ดินไม่ถูกต้องโดยไม่ค านึงถึงมาตรการ
                   อนุรักษ์ที่เหมาะสม  ซึ่งมนุษย์ถือเป็นสาเหตุทางอ้อมที่เป็นผู้เร่งให้การพังทลายของดินเกิดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ

                   อย่างยิ่งหากการใช้ดินนั้นขาดความระมัดระวังหรือใช้อย่างเข้มข้นเกินไปจะส่งผลให้ดินมีการพังทลายมากขึ้น
                   นอกจากนี้ หากมนุษย์มีการบุกรุกถางป่าเพื่อใช้ท าการเกษตรมากขึ้น ผิวหน้าดินไม่มีสิ่งใดปกคลุมซึ่งได้รับ
                   ผลกระทบจากแสงแดด น้ า และลมโดยตรง  การกัดเซาะและการพัดพายิ่งจะเกิดได้มากและรวดเร็วขึ้น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30