Page 23 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        13


                                (2) การพัดพาในสภาพแขวนลอย (suspension) เป็นขบวนการที่น้ าพัดพาอนุภาคเล็กๆ ในรูป
                   สารแขวนลอย เช่น อนุภาคดินเหนียวและทรายแป้ง จะตกตะกอนเมื่อความเร็วของกระแสน้ าลดลงหรือน้ าหยุดไหล
                                (3) การพัดพาโดยการกระดอน (saltation) เป็นขบวนการที่น้ าพัดพาอนุภาคเคลื่อนย้ายไปตาม
                   พื้นที่ของท้องน้ า ในลักษณะกระดอนไปตามความลาดชันของพื้นล าธาร อนุภาคที่เคลื่อนย้ายไปมีขนาดเท่า

                   เม็ดทรายหรือโตกว่าเล็กน้อย ปัจจัยส าคัญที่ควบคุมคือ แรงเหวี่ยงของกระแสน้ า อนุภาคจะตกตะกอน
                   เมื่อความเร็วของกระแสน้ าไม่สามารถจะยกอนุภาคเหล่านี้ได้ หรือเมื่อมีสิ่งกีดขวาง
                                (4) การพัดพาโดยกลิ้งไป (rolling) เป็นการกลิ้งไปโดยไม่มีการกระเด้งหรือกระดอนเกิดขึ้น
                   เนื่องจากอนุภาคมีน้ าหนักมากเกินกว่าที่กระแสน้ าจะยกขึ้นได้ เช่น ก้อนหินขนาดโต
                            2) ขบวนการทับถมของตะกอน  แม่น้ าแต่ละสายจะมีความสามารถในการพัดพาอนุภาคต่างๆ
                   ได้แตกต่างกัน  ซึ่งการทับถมจะแตกต่างกันตามขนาดของอนุภาค  บริเวณสุดท้ายเป็นที่ที่ตะกอนไปทับถมกันมาก
                   ที่สุด ซึ่งสาเหตุของการตกตะกอนทับถม ประกอบด้วย ความเร็วของกระแสน้ าลดลง น้ าท่วมฝั่ง มีสิ่งกีดขวาง
                   ทางน้ า ปริมาณน้ าลดลง และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของทางน้ า (drainage pattern change)




                                   สาเหตุหลักของการชะล้างพังทลายของดิน มี 2 ประการ (พิทยากร, 2551) คือ
                                   1) การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (natural erosion or geologic
                   erosion) โดยมีน้ า ลม และแรงดึงดูดของโลก เป็นตัวการส าคัญที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินแบบค่อย
                   เป็นค่อยไป หรือเป็นไปอย่างช้า ๆ เช่น การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก พบในบริเวณ
                   ที่มีความลาดชันสูง เมื่อมีฝนตกหนักจนดินอิ่มตัว ท าให้แรงยึดตัวของดินมีน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก

                   ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ าจะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ าตามแรงดึงดูดของโลกก่อให้เกิดดินถล่ม  เป็นต้น
                                   2) การชะล้างพังทลายของดินที่มีตัวเร่ง (accelerated or man-made erosion) โดยมี
                   มนุษย์และสัตว์เป็นตัวการส าคัญในการเร่งให้เกิดการพังทลายของดิน เช่น การระเบิดภูเขา การสร้างถนน การตัด
                   ไม้ท าลายป่า การท าไร่เลื่อนลอย การท าเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินโดยขาดความระมัดระวังหรือใช้อย่างรุนแรง
                   เกินไปจะส่งผลให้ดินมีการพังทลายมากขึ้น
                                   นอกจากนี้  สาเหตุที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน (พิทยากร, 2551) ประกอบด้วย
                                   1) การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เมื่อมีจ านวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการการใช้ประโยชน์
                   ที่ดินในรูปแบบต่างๆ ก็มากขึ้นจนมีผลท าให้เกิดการบุกรุกท าลายป่า โดยเฉพาะการบุกรุกท าลายป่าเพื่อน าพื้นที่
                   เหล่านั้นมาใช้ท าการเกษตรเพื่อผลิตอาหารส าหรับการยังชีพ การเปลี่ยนสภาพป่าเป็นพื้นที่เกษตรโดยไม่มี
                   การบ ารุงรักษาและป้องกันการชะล้างพังทลายที่ถูกวิธี  ส่งผลให้เกิดชะล้างพังทลายและการเสื่อมโทรมของดิน

                   และที่ดินอย่างมาก
                                   2) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ลักษณะการถือครองที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเกษตรกร
                   ที่มีน้อยเกินไปจนท าให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ  จึงต้องมีการขยายพื้นที่ท ากินใหม่ ผลที่ตามมา
                   คือ การใช้ที่ดินที่ขาดการบ ารุงรักษาที่ถูกต้องท าให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28