Page 24 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    14


                              3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน  ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน
               โดยเกษตรกรมักท าการเกษตรด้วยการไถพรวนขึ้นลงตามแนวลาดเท
               เพื่อปลูกพืช  ซึ่งเป็นการเร่งและส่งเสริมให้เกิดการชะล้างพังทลาย
               ของดินรุนแรงและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ประกอบกับการขาดการวาง

               แผนการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสม
               กับสภาพพื้นที่ ท าให้เกิดสภาพการชะล้างพังทลายของดินตาม
               ไหล่ทางได้ง่าย ซึ่งการก าหนดพื้นที่หรือการวางแผนเพื่อใช้ประโยชน์
               ที่ดินในด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่จ าเป็นที่จะต้องใช้ทั้งความรู้และบุคลากร
               ในหลายสาขาวิชาการในลักษณะบูรณาการ เพื่อน ามาประมวลเป็น
               แนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับพื้นที่         การกัดเซาะผิวหน้าดินในพื้นที่ปลูกมันส าปะหลัง



                                  ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ ดิน
               พืชพรรณ และกิจกรรมของมนุษย์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพืชพรรณและมนุษย์เป็นปัจจัยที่สามารถ
               จัดการหรือควบคุมได้  ส่วนปัจจัยอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ยากต่อการควบคุมหรือจัดการได้

               ความส าคัญของแต่ละปัจจัยจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตลอดจนการกระท า
               ของมนุษย์ (นิพนธ์, 2527) ดังนี้
                                 1) สภาพภูมิอากาศ (climate)
                                      สภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะน้ าหรือฝน (precipitation) และลม มีผลต่อการชะล้าง
               พังทลายของดิน โดยน้ าเป็นปัจจัยส าคัญยิ่งเมื่อมีฝนตกลงมา แรงกระทบของเม็ดฝนกับดิน จะท าให้ก้อนดินแตก
               ออกเป็นอนุภาคเล็กๆ พร้อมที่จะถูกพัดพาไปที่อื่น ถ้ามีฝนตกมาก น้ าฝนจะรวมตัวกันและไหลลงสู่ที่ต่ า  แรงของน้ า
               ที่เสียดสีไปกับดินจะท าให้ดินแตกและถูกพัดพาไปด้วย  การสูญเสียดินเกิดจากน้ ามีมากที่สุด  แต่บางส่วนเกิดจาก
               ความแรงและความเร็วของลม ซึ่งเป็นอีกสาเหตุท าให้ดินพังทลายได้ เกิดขึ้นมากกับดินที่อยู่ในที่โล่งบริเวณกว้าง
               ไม่มีสิ่งก าบัง เช่น ในทะเลทรายความรุนแรงของการสูญเสียดินขึ้นอยู่กับความแรงของลม หรือสิ่งกีดขวาง หรือ
               สิ่งก าบัง  นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างกลางวันและกลางคืน และระหว่างฤดูกาล

               มีผลต่อการปรับตัวของโครงสร้างดินโดยเฉพาะการเกาะยึดกันของอนุภาคดิน
                                 2) สภาพภูมิประเทศ (topography)
                                    สภาพพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันของความลาดเทซึ่งขึ้นอยู่กับความชัน ความยาว รูปร่าง ความ
               ไม่สม่ าเสมอ และทิศทางของความลาดเทมีผลต่อการชะล้างพังทลายของดินแตกต่างกันไป เนื่องจากแรงโน้มถ่วง
               ของโลก เป็นสาเหตุหนึ่งท าให้เกิดการพังทลายของดิน พบได้จากบริเวณที่มีความลาดชันสูง เมื่อมีฝนตกหนัก
               จนดินอิ่มตัว ท าให้แรงยึดตัวของดินมีน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ าจะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่
               ที่ต่ าตามแรงดึงดูดของโลก เกิดดินเลื่อนหรือแผ่นดินถล่ม เป็นต้น ดังนั้น ความลาดชันของพื้นที่มากจะท าให้

               อัตราความเร็วของน้ าไหลบ่าหน้าดินสูง ปริมาณการสูญเสียดินและน้ าจะมากตามไปด้วย
                                  นอกจากนี้ แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งไม่อาจ
               ควบคุมได้ การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง มักมีผลกระทบต่อดิน และท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น
               เกิดดินแตกแยก และดินถล่มง่ายจากการกัดเซาะและพัดพา
                                3) สมบัติของดิน (soil properties)
                                    การชะล้างพังทลายของดินขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติของดิน ได้แก่ เนื้อดิน โครงสร้างของดิน
               ความหนาแน่นของดิน อัตราการแทรกซึมของน้ าในดิน ความสามารถในการอุ้มน้ าของดิน และความลึกของดิน
               ลักษณะดังกล่าวจะเป็นตัวก าหนดความทนทานของดินต่อการถูกกัดเซาะและชะล้างพังทลายของดิน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29