Page 21 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        11





                            การชะล้างพังทลายของดิน ตามพระราชบัญญัติ
                   พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 หมายความว่า ปรากฎการณ์ซึ่ง
                   ที่ดินถูกชะล้างกัดเซาะพังทลายด้วยพลังงานที่เกิดจากน้ า
                   ลม หรือโดยเหตุอื่นใดให้เกิดการเสื่อมโทรม สูญเสียเนื้อดิน

                   หรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                            นิพนธ์ (2545) กล่าวว่า การชะล้างพังทลายของ
                   ดิน เป็นกระบวนการที่เกิดจากการที่มีแรง ซึ่งอาจเกิดจาก
                   น้ า ลม หรือแรงโน้มถ่วงของโลก มากระท าให้วัตถุธาตุหรือ
                   สารแตกแยกออกจากกันแล้วเคลื่อนย้ายอนุภาคของดินหรือ
                   สารหรือวัตถุธาตุดังกล่าวไปตกตะกอนทับถมอีกแห่งหนึ่ง
                            พิทยากร (2551) การชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion) คือ กระบวนการแตกกระจาย
                   (detachment) และการพัดพา (transportation) ของดินโดยตัวการกัดกร่อน (erosion agents) ได้แก่
                   การชะล้างพังทลายโดยน้ า (water erosion) ซึ่งเป็นชนิดที่ส าคัญในประเทศไทย และการชะล้างพังทลาย

                   โดยลม (wind erosion)
                            กรมพัฒนาที่ดิน (2558) การชะล้างพังทลายของดิน เกิดจากกระบวนการที่ส าคัญ คือกระบวนการ
                   แตกกระจาย (detachment) เมื่อเม็ดฝนตกลงมากระแทกกับก้อนดิน ท าให้ก้อนดินแตกเป็นเม็ดดินเล็กๆ
                   ภายหลังที่เม็ดฝนกระแทกก้อนดินแล้วน้ าบางส่วนจะไหลซึมลงไปในดิน เมื่อดินอิ่มตัวจนน้ าไม่สามารถจะไหลซึม
                   ลงไปได้อีก จึงเกิดการไหลบ่าและพัดพา (transportation) ก้อนดินเล็กๆ ที่แตกกระจายอยู่บนผิวดินไป และ
                   การตกตะกอนทับถม (deposition) ในพื้นที่ลุ่มต่ า เม็ดดินที่ถูกพัดพาไปกับน้ า ส าหรับประเทศไทย ตัวการกัดกร่อน
                   ของดินที่ส าคัญ ได้แก่ การชะล้างพังทลายโดยน้ า และการพังทลายโดยลม
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26