Page 30 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    20







                      การชะล้างพังทลายของดิน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมบัติดินในแต่ละพื้นที่ น าไปสู่ความเสื่อมโทรม
               ของทรัพยากรดินทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง การเสื่อมโทรม (land degradation) และการชะล้างพังทลาย

               ของดิน (soil erosion) มีผลต่อสมบัติดินทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ  ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง พื้นที่
               การเกษตรได้รับความเสียหาย ผลผลิตลดลง ส่งผลกระทบทั้งด้านนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจสังคม (ecological
               and socioeconomic effects) ในพื้นที่นั้นๆ


                                    การสูญเสียดินมีความหมายที่
               ครอบคลุมถึงความเสื่อมโทรมของดิน  คือ การแสดง

               ความสามารถในการปลูกพืช ความเสื่อมโทรมที่ปรากฏ
               นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า การชะล้าง
               พังทลายของดินเป็นจุดเริ่มที่เข้าสู่สภาวะการแปรสภาพ
               เป็นทะเลทราย (desertification) ทั้งนี้  เนื่องจากการ
               ทบทวนสถานภาพในพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของ
               ดินในประเทศที่ก าลังพัฒนา การชะล้างพังทลายของดิน
               จะมีผลกับตะกอนในล าน้ า และอ่างเก็บน้ า ถ้าพื้นที่ลุ่มน้ า
               ตอนล่างมีระบบการระบายน้ าไม่ดี ดินที่ถูกชะล้าง
               พังทลายจะไม่ถูกพัดพาไปสู่ทางน้ าทั้งหมด แต่ถ้าพื้นที่ลุ่ม
               น้ ามีการระบายน้ าดีมาก การพัดพาตะกอนจะเกิดขึ้นสูง

               อัตราส่วนดังกล่าวนี้อาจมีความแตกต่างกันตั้งแต่ 5 - 100
               เปอร์เซ็นต์
                      กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการก าหนดปริมาณการ
               สูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับดินในประเทศไทยที่
               2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งการสูญเสียดินในระดับนี้จะไม่ท าให้
               สมรรถนะของดินส าหรับการเกษตรเปลี่ยนแปลงตลอด
               ระยะเวลา 25 ปี และค่าการสูญเสียดินที่สูงกว่าระดับนี้

               จะมีผลเสียหายต่อคุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาว
               กรมพัฒนาที่ดิน รายงานว่า  อัตราการสูญเสียดินในพื้นที่
               เกษตรกรรมของประเทศไทย อยู่ระหว่าง 0-50 ตันต่อไร่ต่อปี
               แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
               จะเกิดการสูญเสียดินที่รุนแรงทั้งอัตราและปริมาณ
               ผลกระทบจากการสูญเสียดินในพื้นที่ส่งผลต่อความ
               สามารถในการให้ผลผลิตของดินและรายได้ของเกษตรกร
               ลดลง ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
               และส่งผลต่อโครงสร้างทางวิศวกรรมและอุตสาหกรรม

               เช่น โครงสร้างถนนถูกท าลาย  ทางน้ าและแหล่งน้ าตื้น
               ขึ้น เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35