Page 29 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        19



                                    การจัดระดับชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน,

                   2543) เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ และการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ า
                   ได้จัดระดับชั้นความรุนแรงอัตราการชะล้างพังทลายของดิน ดังแสดงในตารางที่ 1.1 ซึ่งค่าการสูญเสียดิน
                   ที่ค านวณได้จากสมการสูญเสียดินสากล น ามาจัดชั้นความรุนแรงการสูญเสียดิน และแสดงผลออกเป็นแผนที่
                   การชะล้างพังทลายของดิน เพื่อทราบถึงขอบเขตพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และ
                   ระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ  โดยการจัดชั้นความรุนแรงของการชะล้าง
                   พังทลายของดิน ยึดตามแนวคิดในภาพที่ 1.4   ค่าการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับพื้นที่เกษตร คือ ระดับ
                   ที่ไม่มีผลเสียหายต่อคุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาว และยังคงได้รับผลผลิตพืชและมีความยั่งยืน
                   ทางเศรษฐกิจ  ทั้งนี้  การสูญเสียดินจะส่งผลกระทบและมีความรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  ตลอดจน
                   กิจกรรมที่เป็นปัจจัยเสริมต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น


                   ตารางที่ 1.1 ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                    ระดับการชะล้างพังทลาย                          อัตราการชะล้างพังทลายของดิน
                                                            ตันต่อไร่ต่อปี         ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี
                    1. น้อยมาก (very slight)                   0-2                     0-12.5
                    2. น้อย (slight)                           2-5                    12.5-31.25
                    3. ปานกลาง (moderate)                      5-15                  31.25-93.75
                    4. รุนแรง (severe)                        15-20                   93.75-125
                    5. รุนแรงมาก (very severe)                 >20                      >125




























                   ภาพที่ 1.4  ความรุนแรงของการสูญเสียดินที่มีผลกระทบต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ
                   ที่มา : ดัดแปลงจากพิทยากร (2551)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34