Page 22 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    12


                        การสูญเสียมวลดินจากการชะล้างพังทลาย โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีความลาดชันท าให้
               เกิดการสูญเสียหน้าดินที่มีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุในดินเป็นองค์ประกอบ  โครงสร้างของดินถูกท าลาย
               จนส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินลดลง ถึงระดับที่ไม่สามารถ
               ท าการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งปัญหาการจัดการที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับสมรรถนะที่ดิน การใช้ที่ดิน

               โดยปราศจากการบ ารุงรักษา รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อขยายพื้นที่การเกษตรโดยไม่มีการควบคุม ล้วนแต่
               ส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและที่ดินอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
               ต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ การสูญเสียหน้าดินอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณ
               ผลผลิตของเกษตรกร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)



                               กระบวนการชะล้างพังทลายของดินโดยพลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงมากระทบและปะทะ
               กับหน้าดิน ท าให้อนุภาคดินที่ยึดเกาะกันอยู่เกิดการแตกแยกออกจากกัน เมื่อมีปริมาณของฝนมากขึ้น ปริมาณ
               ของน้ าฝนจะรวมตัวเป็นน้ าไหลบ่าหน้าดิน และจากแรงของฝนที่ตกลงมาปะทะผิวน้ าที่ไหลบ่าหน้าดินจะท าให้
               เกิดการไหลของน้ าในลักษณะที่วกวน ท าให้อนุภาคของดินแตกกระจายมากขึ้น ขณะเดียวกันอนุภาคของดิน
               ที่แตกกระจายจะถูกเคลื่อนที่ไปตามแนวราบหรือไปตามความลาดชันของพื้นที่ ในลักษณะของการเคลื่อนที่ต่างๆ กัน
               เช่น กลิ้ง กระเด็น เคลื่อนหรือถูกพัดพาไปในสภาพแขวนลอยกับน้ าที่ไหลบ่าไปบนผิวดิน (เกษม และนิพนธ์, 2525)
                                 การชะล้างพังทลายของดิน เกิดจากกระบวนการที่ส าคัญ 3 กระบวนการ  ดังนี้

                                1) กระบวนการแตกกระจาย
               (detachment) โดยการกระท าของเม็ดฝนตก                          กลไกการชะล้างพังทลายของดินโดย
               ลงมากระทบกับหน้าดิน และการไหลของน้ า                          น้ า (Zafirah et al., 2017)
               เหนือผิวดิน ท าให้อนุภาคดินแตกกระจายออก
               จากกัน
                                2) กระบวนการเคลื่อนย้าย
               อนุภาคดิน (transportation) ภายหลังที่เม็ดฝน
               กระทบหน้าดินแล้ว น้ าบางส่วนไหลซึมลงดิน

               เมื่อดินอิ่มตัวจนน้ าไม่สามารถไหลซึมลงดินได้
               จะท าให้เกิดน้ าไหลบ่าหน้าดิน พัดพาเอาก้อน
               ดินเล็กๆ ที่แตกกระจายอยู่บนผิวดินไปด้วย
                                 3) กระบวนการทับถมของอนุภาคดินหรือตะกอน (deposition) โดยอนุภาคดินที่ถูกพัดพา
               เคลื่อนย้ายไปกับน้ าไหลบ่าตามแนวราบหรือตามความลาดชันของพื้นที่ ท าให้เกิดการตกตะกอนทับถมผิวหน้าดิน
               ในพื้นที่ลุ่มต่ า หรือเกิดการสะสมตะกอนของดินในแหล่งน้ า
                              กรมชลประทาน (2555) ได้อธิบายค าว่า “ขบวนการเซาะพังทลาย” เมื่อกระแสน้ าไหลผ่าน
               พื้นที่ต่างๆ ลงสู่ที่ต่ าตามความลาดชันของพื้นที่จะท าให้เกิดขบวนการกัดเซาะ ผุพัง และสลายตัวของพื้นที่ที่น้ า
               ไหลผ่านท าให้เกิดตะกอนและอนุมูลที่น้ าพัดพาเคลื่อนย้ายจากแหล่งเดิมน าไปตกตะกอนทับถมยังแหล่งใหม่

               ซึ่งบางครั้งก็อยู่ใกล้กับบริเวณเดิม บางครั้งก็ห่างไกลจากต้นก าเนิดมาก และท าให้เกิดขบวนการกัดเซาะท้องน้ า
               และการเซาะพังตลิ่งทั้งสองด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดตะกอน ความเร็วของกระแสน้ า ปริมาณน้ าที่ไหลผ่าน และ
               ความลาดเอียงของพื้นที่ ขบวนการพัดพาและทับถมของตะกอน เกิดขึ้นได้โดยขบวนการ  ดังนี้
                        1)  การพัดพาโดยกระแสน้ า เป็นขบวนการที่ส าคัญที่สุด แบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ
                            (1) การพัดพาในสภาพสารละลาย (solution load) สารต่างๆ ที่ละลายในน้ าในรูปของสารละลาย
               และอนุมูล (colloid and ion) จะถูกพัดออกไปไกลที่สุด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสารละลายก็จะ
               ตกตะกอน ได้แก่ อนุมูลโซเดียม แคลเซียม คาร์บอเนต เหล็ก ซิลิกา ซัลเฟต และคลอไรด์ เป็นต้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27