Page 7 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 7

คำนำ




                       มนุษยชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายทางด้านเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก ทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก
               อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขยายตัวของชุมชนเมือง การเปลี่ยนแปลงของอาหารและโภชนาการ และ
               ความเสื่อมโทรมของดินที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ความตระหนักและเข้าใจใน

               การจัดการดินอย่างยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อขจัดความหิวโหยและสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ

                       เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ระบุถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมและปรับปรุงคุณภาพของดิน โดยมี
               ข้อตกลงร่วมกันว่าเราจะต้องรักษาและทำให้ดินสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ นอกจากเพื่อให้สามารถรองรับการผลิต
               อาหารได้แล้ว ยังเพื่อกักเก็บและผลิตน้ำที่สะอาด รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ กักเก็บคาร์บอน และเพิ่มความต้านทาน

               ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเป้าหมายหลักที่ทำให้ต้องมีการจัดการดินอย่างยั่งยืนทั่วโลก

                       ดินเป็นรากฐานของการผลิตอาหารและนิเวศบริการที่สำคัญมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดการดินอย่างยั่งยืนจะมี
               ส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณการผลิตอาหาร การเพิ่มปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการปรับตัวและการบรรเทา
               ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                       การอนุรักษ์และจัดการดินอย่างมีความรับผิดชอบ นับเป็นภารกิจสำคัญขององค์การอาหารและเกษตรแห่ง
               สหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization; FAO) ซึ่งจะช่วยขจัดความหิวโหย ความไม่มั่นคงด้านอาหารและ

               การขาดสารอาหาร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน  ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่ง
               สหประชาชาติ (FAO) จึงได้จัดตั้งสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก  (Global Soil Partnership: GSP) ในเดือน
               ธันวาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มพันธมิตรที่เต็มใจและมุ่งมั่นในการส่งเสริมและดำเนินงานการจัดการดินอย่าง

               ยั่งยืนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก  โดยได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน
               อย่างต่อเนื่อง

                       ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก  (GSP) ทำให้ ‘กฎบัตรดินโลก (World Soil
               Charter)’ ซึ่งมีหลักการและแนวทางปฏิบัติเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืนได้รับการปรับปรุงแก้ไขในปี พ.ศ. 2558 นโยบายที่

               สำคัญและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา โดย “แนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืน
               โดยความสมัครใจ” ฉบับนี้ ได้ขยายความเพิ่มเติมจากกฎบัตรดินโลก ซึ่งอธิบายถึงหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อผลักดันสู่
               การวางนโยบายและประกอบการตัดสินใจ จากนั้นได้รับการรับรองในการประชุมสมัยที่ 155 ของสภา FAO ในเดือนธันวาคม
               พ.ศ. 2559


                       หวังว่าแนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืนโดยความสมัครใจฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือให้คำแนะนำแก่
               ผู้ปฏิบัติงานและช่วยสร้างการสนับสนุนเพื่อเพิ่มพื้นที่ที่มีการจัดการดินอย่างยั่งยืนทั่วโลก ทั้งนี้ ขอชมเชยความพยายามและ
               ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม FAO ขอความร่วมมือและพร้อมที่จะสนับสนุน
               ประเทศสมาชิกในการนำนโยบายและแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการดินให้มีคุณภาพที่ดีและยั่งยืน

               ต่อไป






                                                                  JOSE GRAZIANO DA SILVA
                                                                      FAO Director-General
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12